Page 36 - 21736_Fulltext
P. 36

15



                                   3) ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา เพราะการใช้แนวทางอื่นในการเอาชนะอีกฝ่าย
                       นั้นมีต้นทุนทั้งสิ้น การใช้กำลังก็มีต้นทุนคือสร้างบาดแผล เกิดความสูญเสียทั้งทางวัตถุและจิตใจ การ

                       ฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรมก็มีต้นทุน ทั้งค่าทนายความ ค่าขึ้นศาลยุติธรรม  ค่ารถ ค่าเสียเวลาจากการ
                       ประกอบอาชีพ ยิ่งถ้าเป็นในสหรัฐอเมริกาการฟ้องร้องมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการไกล่เกลี่ยมาก การ

                       ฟ้องร้องมีขั้นตอนที่ยาวนานขึ้นอยู่กับคดีว่ามีความซับซ้อนเพียงใด โชติช่วง ทัพวงศ์ (2556) เน้นว่า

                       ช่วงระยะเวลาตั้งแต่เริ่มฟ้องคดีถึงวันนัดสืบพยานครั้งแรกนั้น ใช้เวลานานเนื่องจากต้องรอลำดับวันนัด
                       พิจารณา อีกทั้งเมื่อศาลชั้นต้นตัดสินแล้วคู่ความก็อาจอุทธรณ์และฎีกาต่อไปอีก แม้ว่าฝ่ายใดชนะคดี

                       แล้วยังมีขั้นตอนในการบังคับคดีอีก

                                   4) การไกล่เกลี่ยนำไปสู่การทำบันทึกข้อตกลงร่วมกันที่คู่กรณีให้การยอมรับ และถ้า

                       เป็นการไกล่เกลี่ยในระดับอำเภอหรือในศาลยุติธรรม จะมีสภาพบังคับ ถ้าหากคู่กรณีไม่ทำตาม
                       ข้อตกลงสามารถมีผลบังคับใช้ได้ตามกฎหมาย


                                   5) ป้องกันมิให้เกิดความรุนแรง การตกลงกันได้ด้วยความเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน
                       จะช่วยยุติความเป็นปฏิปักษ์ ช่วยเปิดมุมมองซึ่งกันและกัน ทำให้รู้ว่าอีกฝ่ายคิดเห็นอย่างไร เมื่อคู่กรณี

                       ได้มาพูดคุยกัน จนเกิดมุมมองที่ดีต่อกัน การใช้ความรุนแรงหรือสงครามก็จะไม่เกิดขึ้น

                                   6) เป็นการสนองความต้องการที่แท้จริงร่วมกันมากกว่าการเอาชนะบนจุดยืนที่

                       แตกต่าง อีกทั้งเกิดความพึงพอใจร่วมกัน เช่น บางคนอาจต้องการคำขอโทษมากกว่าการชดใช้ด้วยเงิน

                                   7) เป็นการตัดสินใจโดยคู่กรณีเอง เกิดการยอมรับร่วมกัน ไม่รู้สึกว่ามีใครแพ้หรือใคร

                       ชนะ คนที่สร้างความขัดแย้ง ก็เป็นผู้สร้างทางออกร่วมกันเอง

                                   เนติภูมิ มายสุกล (2558) อธิบายถึงประโยชน์ของการไกล่เกลี่ยในสถานศึกษาไว้ ดังนี้


                                   1) สะดวก

                                   การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท เป็นวิธีการระงับข้อพิพาทที่เรียบง่ายค่อนข้างยืดหยุ่นและไม่มี

                       พีธีรีตองมากนัก สามารถดำเนินการได้ตั้งแต่ความขัดแย้ง เพิ่งเริ่มก่อตัวขึ้น ทำให้ปัญหาได้รับการ
                       แก้ไขอย่างทันท่วงที และสารถดำเนินการไกล่เกลี่ยที่ใดก็ได้ที่คู่พิพาทสะดวก ไม่ว่าจะเป็นในห้องไกล่

                       เกลี่ย ห้องประชุม โรงอาหาร หรือแม้กระทั่งสนามหญ้าหน้าสถานศึกษาในเวลาที่ผู้คนไม่พลุกพล่าน

                       มากนักก็ได้โดยมีข้อยกเว้นเพียงประการเดียวเท่านั้นคือ การไกล่เกลี่ยต้องทำเป็นความลับ

                                   2) รวดเร็ว

                                   การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทใช้เวลาไม่นานนักก็จะทราบได้ว่า คู่พิพาทตกลงกันได้หรือไม่

                       ทำให้ปัญหาความขัดแย้งได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วและทันท่วงที
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41