Page 34 - 21736_Fulltext
P. 34
13
การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางภายในหรือระหว่างประเทศ ควรเข้าใจว่าการไกล่เกลี่ยไม่ได้
เป็นเหตุผลเพียงมนุษยธรรมเท่านั้น หรือผู้ไกล่เกลี่ยอาจไม่ได้ยึดแต่ประโยชน์ของคู่กรณีเป็นที่ตั้ง
เท่านั้น แต่อาจมีผลประโยชน์ของผู้ไกล่เกลี่ยร่วมอยู่ด้วยก็เป็นได้ โดยเฉพาะในการไกล่เกลี่ยโดยคน
กลางระหว่างประเทศ ซึ่งถ้าเป็นไปเช่นนั้น จะทำให้กระบวนการไกล่เกลี่ยถูกตั้งคำถามถึงความชอบ
ธรรมเป็นอย่างมาก และทำให้กระบวนการแก้ไขความขัดแย้งล้มเหลวได้
2.1.1.4 วัฒนธรรมที่หลากหลาย: การไกล่เกลี่ยที่แตกต่าง
การแก้ไขความขัดแย้งด้วยการไกล่เกลี่ยข้ามวัฒนธรรมหรือกับคนอื่นที่มีวัฒนธรรม
แตกต่างกับเรา มีความจำเป็นต้องทำความเข้าใจในวัฒนธรรมอื่น เพื่อนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายใน
การแก้ไขความขัดแย้งร่วมกัน การยึดติดหรือเลือกใช้เพียงวัฒนธรรมเดียวในการพูดคุยกันย่อม
เปรียบเสมือนการบีบคอไปพร้อมกับพูดคุยกันไปเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมอีกฝ่ายหนึ่ง วัฒนธรรม
ตะวันออกเน้นการรักษาหน้าและสัมพันธภาพมากกว่าทางตะวันตก จะไม่ค่อยพูดหรือเผชิญหน้ากัน
ตรงๆ แต่จะใช้วิธีการอ้อม บอกให้รู้เป็นนัยๆ อีกทั้งมีประเด็นของความเชื่อเข้ามาเกี่ยวข้องสูง ในขณะ
ที่ วัฒนธรรมตะวันตก ให้ความสำคัญกับการเผชิญหน้าโดยตรง พบกันซึ่งๆ หน้าไม่ค่อยกลัวในการ
ไกล่เกลี่ยกับคู่กรณีโดยตรง (Wilmot & Hocker, 2007, และ Moore, 1984) อย่างไรก็ตาม ต้องไม่
ลืมว่าในวัฒนธรรมใหญ่ก็มีวัฒนธรรมย่อยอีกเป็นจำนวนมาก และไม่ควรเข้าใจผิดพลาดหรือเกิดการ
เหมารวมที่ไม่ถูกต้องว่าคนในชาตินั้นๆ เป็นเหมือนกันหมด
ดังนั้น การไกล่เกลี่ยข้ามวัฒนธรรมหรือไกล่เกลี่ยกับคนที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน จึง
ควรผสมผสานแนวทางในการทำความเข้าใจวัฒนธรรมในภาพรวมเข้ากับวัฒนธรรมย่อยของแต่ละ
แห่ง ที่เป็นความต้องการของปัจเจกบุคคลว่ามีความต้องการอะไรในการเข้ามาไกล่เกลี่ย ตามที่เขียน
ไว้ในภาพที่ 2.4
หาความต้องการของ
ปัจเจกบุคคล เข้าใจวัฒนธรรมใหญ่
การไกล่เกลี่ย
ข้าม
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมย่อย วัฒนธรรมย่อย
ภาพที่ 2.4: การไกล่เกลี่ยข้ามวัฒนธรรมกับการหาความต้องการของปัจเจกและเข้าใจวัฒนธรรมใหญ่
จาก การสังเคราะห์โดยผู้เขียน