Page 29 - 21736_Fulltext
P. 29
9
2.1.1.1 นิยามความหมายของการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
นักวิชาการและนักปฏิบัติการด้านการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ เช่น Coltri (2004), Wilmot & Hocker (2007), Bercovitch (2009), Mayer (2010),
Moore (1999) Zartman (2009) อีกทั้ง วันชัย วัฒนศัพท์ (2550), โชติช่วง ทัพวงศ์ (2556) นพพร
โพธิรังสิยากร (2555) สรวิศ ลิมปรังษี (2555) เป็นต้น ได้ให้ความหมายของการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
สรุปได้ ใน 3 ลักษณะ คือ
1) การอำนวยการประชุม
คนกลางไม่เน้นผลลัพธ์ที่ได้และเน้นที่การดำเนินการแทรกแซง กล่าวคือ
บุคคลภายนอกเข้ามาดำเนินการไกล่เกลี่ยด้วยตนเอง หรือการการเชิญชวนจากคู่กรณี เพื่อมาช่วยทำ
ให้เกิดข้อตกลงร่วมกัน ที่สำคัญคือ เป็นกระบวนการที่บุคคลที่สาม ไม่มีอำนาจตัดสินใจ มิใช่ผู้
พิพากษาหรืออนุญาโตตุลาการ แต่ช่วยหรือเอื้ออำนวยกระบวนการ กระตุ้นให้คู่กรณีมาสู่ข้อตกลงที่
ยอมรับร่วมกัน กล่าวคือเป็น “คุณอำนวย” ไม่ใช่ “คุณอำนาจ” เน้นอำนวยการประชุม ไม่เน้นการ
ตัดสินใจจากคนกลาง
2) ความเป็นกลาง
เป็นกระบวนการที่เข้ามาช่วยจากฝ่ายที่สามที่มีความเป็นกลาง ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด เข้ามา
ช่วยจำแนก แยกประเด็นความขัดแย้งเพื่อสร้างทางเลือก พิจารณาทางเลือกร่วมกัน และนำมาสู่
ข้อตกลงที่สนองความต้องการของฝ่ายต่างๆ สิ่งสำคัญมากคือความเป็นกลางในกระบวนการที่
ดำเนินการให้คู่กรณีรู้สึกพึงพอใจ
3) การได้รับการยอมรับจากคู่กรณี
การยอมรับการทำหน้าที่ของคนกลางเข้ามาช่วยอำนวยการประชุม เอื้ออำนวย
กระบวนการให้บรรลุผล รวมถึงคำแนะนำบางประการของคนกลาง แต่ไม่ได้หมายความว่ายอมรับทุก
สิ่งที่คนกลางบอกให้ทำหรือชี้นำ การสร้างการยอมรับจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ถ้าคู่กรณียอมรับในตัวคน
กลาง การดำเนินการไกล่เกลี่ยก็มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากขึ้น
ภาพที่ 2.2 เป็นการสรุปให้เห็นถึงความหมายของคนกลางว่าแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะคือ
การเน้นอำนวยการประชุม มีความเป็นกลางและการยอมรับจากคู่กรณีต่อคนกลาง