Page 39 - 21736_Fulltext
P. 39

18



                              2.1.2 บทบาทหน้าที่ และยุทธวิธีของคนกลาง

                              ในส่วนที่ผ่านมาเราได้เข้าใจถึงแนวความคิดของการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น

                       และพื้นฐานที่สำคัญต่อไปในการศึกษาด้านการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง สิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
                       ประกอบด้วย นิยามความหมายของการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางว่าคืออะไร การไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง

                       เกี่ยวข้องกับการแก้ไขความขัดแย้งอย่างไร เหตุผลและแรงจูงใจในการใช้วิธีการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง
                       มีอะไรอยู่เบื้องหลังของแต่ละฝ่าย การทำความเข้าใจวัฒนธรรมที่หลากหลาย อีกทั้งประโยชน์และ

                       ข้อจำกัดของการไกล่เกลี่ยโดยคนกลาง

                                   2.1.2.1. บทบาทหน้าที่ของคนกลาง

                                   บทบาทหน้าที่ของคนกลางควรเป็นอย่างไร? ดังที่เราได้ทราบแล้วว่าการไกล่เกลี่ยโดย

                       คนกลางจะเหมาะสมกับสถานการณ์ที่คู่กรณีไม่สามารถพูดคุยกันได้เอง จึงมีความจำเป็นต้องใช้บุคคล
                       ที่สามเข้ามาช่วยกำกับกระบวนการ หน้าที่ของคนกลางได้สรุปจากข้อกำหนดของประธานศาลฎีกาว่า

                       ด้วยการไกล่เกลี่ย พ.ศ. 2554 ประมวลจริยธรรมผู้ไกล่เกลี่ย สำนักระงับข้อพิพาท สำนักงานศาล
                       ยุติธรรม พ.ศ. 2548 อีกทั้งนพพร โพธิรังสิยากร (2555) และงานเขียนของวันชัย วัฒนศัพท์ (2550)

                       รวมถึงงานของนักวิชาการต่างประเทศเช่น Coltri (2004) และ Mayer (2000) สรุปได้ดังต่อไปนี้

                                   1) ความสมัครใจ


                                   ในการไกล่เกลี่ยโดยคนกลางความสมัครใจเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยเป็นสิ่งที่สำคัญ
                       มาก ถ้าคู่กรณียังไม่พร้อมเข้าสู่การพูดคุยก็ไม่สามารถบังคับได้ การไกล่เกลี่ยในศาลยุติธรรม ทำได้ง่าย

                       กว่าการไกล่เกลี่ยนอกศาลยุติธรรม การไกล่เกลี่ยในศาลยุติธรรมผู้พิพากษาอาจถามคู่กรณีว่าประสงค์

                       ที่จะเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยหรือไม่ หรือถ้าผู้พิพากษาเจ้าของสำนวนเห็นว่ามีความเป็นไปได้ใน
                       การยุติเรื่องด้วยการไกล่เกลี่ย ก็อาจส่งเรื่องให้คู่กรณีมาไกล่เกลี่ยกันก่อน แต่การไกล่เกลี่ยนอกศาล

                       ยุติธรรม เป็นความสมัครใจโดยแท้ที่จะเข้าสู่การไกล่เกลี่ยหรือไม่ ยกตัวอย่าง การไกล่เกลี่ยกรณี

                       ความเห็นต่างทางการเมือง เป็นเรื่องของความสมัครใจ ถ้าทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องยังไม่พร้อมเข้าสู่การ
                       พูดคุย การไกล่เกลี่ยก็ไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าผู้เกี่ยวข้องเกิดการยอมรับในกระบวนการ  รวมถึงคนกลางก็จะ

                       นำมาสู่การพูดคุยได้ วิธีในการหาคนกลางที่เป็นที่ยอมรับจากทุกฝ่าย อาจทำได้โดยให้แต่ละฝ่ายเสนอ
                       ชื่อคนกลางที่ยอมรับมาฝ่ายละ 10 ชื่อ แล้วหารายชื่อที่เห็นพ้องต้องกัน มาเป็นคนกลางหรือเป็นผู้

                       อำนวยความสะดวกในการพูดคุย เป็นต้น

                                   2) การให้คู่กรณีตัดสินด้วยตนเอง


                                   คนกลางต้องสนับสนุนให้คู่กรณีตัดสินใจด้วยตนเอง  ผู้ไกล่เกลี่ยไม่ใช่อนุญาโตตุลาการ
                       ผู้พิพากษาหรือเจ้าโคตร ที่ต้องตัดสิน สมัยก่อนเจ้าโคตร “พูดแล้วแล้ว” พูดแล้วได้ข้อยุติ พูดแล้ว
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44