Page 41 - 21736_Fulltext
P. 41

20



                       หน้าที่ดำรงตนตามประมวลจริยธรรมในการรักษาความเป็นกลางอย่างเคร่งครัด  ในหลายๆ ชุมชนมี
                       การไกล่เกลี่ยที่ดำรงความเป็นกลางอยู่ได้ แม้ว่าคนกลางจะเป็นที่รู้จักของคู่กรณี เช่น ผู้นำในหมู่บ้าน/

                       ชุมชน ผู้เฒ่า เจ้าโคตร ผู้อาวุโสของหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน พระสงฆ์ แต่ที่สำคัญคือ คุณธรรมในการ
                       รักษาความเป็นกลาง ไม่เอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มิใช่ฟังเรื่องราวของคู่กรณีแล้วเกิดเห็นใจ

                       ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมากเกินไป และมีความเมตตาอยากให้คู่กรณีได้กลับมาคืนดีกัน ได้ปลดเปลื้องความ

                       ทุกข์ของผู้ที่เกี่ยวข้องความไว้วางใจต่อคนกลางก็จะเกิดขึ้น

                                   5) การรักษาความลับ

                                   คนกลางเมื่อได้รับรู้ข้อมูลสำคัญจากคู่กรณีแล้ว ต้องเก็บความลับไว้ให้ดี ไม่นำไปบอก

                       ใคร หรือบอกคู่เจรจาถ้าไม่ได้รับอนุญาตจากคู่กรณี การไกล่เกลี่ยเป็นความลับและยุติอยู่ในห้องไกล่

                       เกลี่ยเท่านั้น ถ้าหากตกลงกันไม่ได้ จะไม่สามารถนำไปอ้างอิงในชั้นศาลยุติธรรม คู่กรณีก็จะรู้สึกอยาก
                       พูดคุย อยากเล่าในสิ่งที่อยู่ลึกๆ ในจิตใจ เล่าข้อมูลได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าการไกล่เกลี่ยไม่เป็นความลับก็

                       อาจจะเกรงว่าจะส่งผลต่อรูปคดี ถึงขั้นทำให้แพ้คดีได้ นอกจากนี้ เป็นการปกป้องคนกลาง ไม่ต้องไป
                       เป็นพยานในชั้นศาลยุติธรรมในกรณีที่คู่กรณีตกลงกันไม่ได้ มิเช่นนั้นคนกลางจะถูกอ้างและต้องไปเป็น

                       พยานในชั้นสืบพยานอยู่ตลอดเวลา

                                   2.1.2.2 ยุทธวิธีของคนกลาง


                                   การไกล่เกลี่ยเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ และผู้ไกล่เกลี่ยแต่ละคนจะมีความแตกต่างกันใน
                       การทำให้การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางบรรลุเป้าหมาย คำถามสำคัญคือผู้ไกล่เกลี่ยควรใช้ยุทธวิธีการไกล่

                       เกลี่ย (Tactics of Mediation) แบบใดถึงจะทำให้บรรลุในเป้าหมาย? คงไม่มีคำตอบตายตัวว่าวิธีการ

                       ใดดีที่สุด แต่ละวิธีมีจุดแข็ง จุดอ่อนที่ต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นวิธีแบบเน้นการอำนวยความสะดวก  และ
                       วิธีแบบประเมิน (Coltri, 2004) ดังนี้

                                   1) การไกล่เกลี่ยแบบอำนวยความสะดวก (Facilitative Tactics in Mediation) คน

                       กลางแทรกแซงกระบวนการพูดคุยในระดับต่ำที่สุด เป็นบทบาทแบบให้ข้อมูลหรือให้ความรู้
                       (Educating) ด้านประโยชน์และกระบวนการของการไกล่เกลี่ยแก่คู่กรณี


                                   ยุทธิวิธีข้างต้น เรียกได้ว่าเป็น “คุณอำนวย” อำนวยการประชุมให้เกิดขึ้นให้ได้  หรือ
                       เป็น “ผู้กำกับ” กำกับเฉพาะกระบวนการพูดคุย  แต่บางครั้งก็มีคนกลางบางคนเข้าใจผิดว่าตัวเอง

                       เป็นผู้อำนวยการต้องสามารถสั่งให้คู่กรณียอมรับได้ ยุทธวิธีนี้ เน้นให้คู่กรณีมาพบปะ มาพูดคุยกัน
                       ช่วยเปลี่ยนมุมมองของคู่ขัดยังที่อาจมีอารมณ์ ทิฐิ อยากเอาชนะอีกฝ่าย เพื่อนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดี

                       ระหว่างกัน อีกทั้งเน้นกระบวนการค้นหาความต้องการที่แท้จริง เน้นที่ความพึงพอใจในกระบวนการ

                       การพูดคุยร่วมกัน คนกลางใช้ทักษะในการสื่อสาร ปรับปรุงการสื่อสาร (Improving
                       Communication) ระหว่างคู่กรณีเพื่อให้เกิดความร่วมมือระหว่างกัน พยายามสลายจุดยืนของแต่ละ
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46