Page 40 - 21736_Fulltext
P. 40
19
คู่กรณีเชื่อฟัง (อุดม บัวศรี, 2546) แต่ปัจจุบันเจ้าโคตรก็เริ่ม “พูดแล้วไม่แล้ว” ไม่สามารถยุติเรื่องได้
เป็นจำนวนมากขึ้น ด้วยเหตุผลหลายประการ เช่นเดียวกับกรณีความขัดแย้งในโครงการพัฒนาขนาด
ใหญ่ของรัฐกับประชาชนที่ไม่สามารถหาข้อตกลงร่วมกันได้ เกิดจากภาครัฐตัดสินใจไปแล้ว มาแจ้งต่อ
สาธารณะให้รับรู้ ให้ยอมรับในโครงการ เกิดการเลือกพื้นที่ดำเนินโครงการไปแล้ว มีการเรียกการ
กระทำลักษณะนี้ว่าเป็นคุณพ่อรู้ดีหรือ DAD Syndrome เกิดการ Decide-Announce-Defend
กล่าวคือ ตัดสินใจว่าจะดำเนินการโดยขาดการมีส่วนร่วม ประกาศว่าจะทำโครงการ และปกป้องต้อง
ทำโครงการต่อให้ได้ ดังนั้น การส่งเสริมให้คู่กรณีตัดสินยุติข้อขัดแย้งด้วยตนเอง ก็จะนำไปสู่ความ
ยั่งยืนในการปฏิบัติตามข้อตกลง
3) ช่วยให้คู่เจรจาหาทางออกที่ตอบสนองความต้องการทุกฝ่าย
การหาทางออกที่ตอบสนองความต้องการทุกฝ่ายเพื่อให้เกิดผลชนะทั้งคู่ (Win-Win)
หรือความรู้สึกพึงพอใจไม่ว่าจะเป็นความพอใจในเนื้อหาผลลัพธ์ที่ได้ หรือความพอใจต่อกระบวนการที่
น่าพึงพอใจที่ทุกฝ่ายได้พูดได้คุยกันอย่างเท่าเทียม มีการสร้างทางเลือกที่หลากหลาย ไม่วิจารณ์ว่า
ความคิดใครผิดถูกในการนำเสนอ สุดท้ายก็นำมาสู่การเลือกทางเลือกร่วมกันและเกิดความพึงพอใจ
ร่วมได้ ถ้าคู่กรณีรู้สึกว่าเกิดผลแพ้ชนะ ก็จะตกลงกันไม่ได้หรือถ้าตกลงกันได้ก็อาจไม่นำไปสู่การ
ปฏิบัติตามข้อตกลง นพพร โพธิรังสิยากร (2555) เห็นว่าคนกลางต้องทำให้คู่กรณีเข้าใจอย่างถ่องแท้
ถึงประโยชน์ของตน มิใช่กระโจนไปสู่ทางออกโดยยังไม่เข้าใจสาเหตุและข้อเท็จจริงแวดล้อม โดย
เปรียบผู้ไกล่เกลี่ยเป็นเหมือนผู้ชำนาญเส้นทาง เมื่อเห็นคู่กรณีขับรถหลงทาง การที่ผู้ไกล่เกลี่ยจะไป
บอกคู่กรณีให้เปลี่ยนเส้นทาง โดยคู่กรณียังไม่รู้ตัวว่าขับรถหลงทาง ย่อมจะถูกโต้แย้งได้ แต่ถ้าคนกลาง
ทำให้คู่กรณีเข้าใจและรู้ตัวว่ากำลังหลงทางอยู่ และทำให้คู่กรณีรู้ว่าคนกลางเป็นผู้รู้เส้นทาง คู่กรณีก็
จะกลับมาถามคนกลางถึงเส้นทางที่ถูกต้อง
4) ทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง
คนกลางไม่มีความสัมพันธ์เป็นพิเศษกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องที่
เกี่ยวข้อง ยกตัวอย่าง ในศาลยุติธรรมบางแห่งจะไม่ให้ทนายความที่ว่าความที่ศาลยุติธรรมแห่งนั้นมา
ทำหน้าที่เป็นผู้ประนีประนอมในที่แห่งเดียวกัน เพื่อป้องกันเรื่องความไม่เป็นกลาง ผู้ประนีประนอมใน
ศาลยุติธรรมจะมีความเป็นกลางสูง เนื่องจากไม่รู้จักกันกับคู่กรณีมาก่อน และถูกกำกับด้วยประมวล
จริยธรรมอีกด้วย คนกลางต้องพยายามไม่ทักทายมากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากเกินไปซึ่งอาจทำให้คู่กรณี
อีกฝ่ายรู้สึกว่าไม่เป็นกลางได้ บางครั้งผู้เขียนจะได้พบกับทนายความคนเดิมแต่มาว่าความในคดีอื่น จะ
พยายามควบคุมตัวเองไม่ให้ทักทายฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมากเกินไป แม้กระทั่งเวลาให้แต่ละฝ่ายพูด ก็ยัง
ต้องพยายามให้พูดโดยเวลาเท่ากัน ไม่แจกนามบัตร ถ้าคู่กรณีอยากติดต่อก็ให้ประสานผ่านศูนย์ไกล่
เกลี่ยแทน บางครั้งคู่กรณีก็อยากให้คนกลางเข้าข้างตนเอง ซึ่งเป็นธรรมชาติของคู่กรณี แต่คนกลางมี