Page 49 - 21736_Fulltext
P. 49

28



                                   การกล่าวทวนเพื่อตรวจสอบอารมณ์มีประโยชน์มากเพราะว่าคู่กรณีมีความรู้สึกไม่
                       พอใจ โกรธเคืองอีกฝ่าย หน้าที่ของคนกลางก็ต้องใช้การฟัง กล่าวทวนเพื่อลดอารมณ์ที่สูงขึ้นให้ต่ำลง

                       ธรรมชาติของคนเมื่อมีอารมณ์สูง การใช้เหตุผลก็จะลดต่ำลง วันชัย วัฒนศัพท์ (2550) ได้กล่าวถึง
                       ขั้นตอน การกล่าวทวนเพื่อตรวจสอบอารมณ์ 4 ขั้นตอนคือ 1. พิจารณาความรู้สึกของผู้พูดจากภาษา

                       และน้ำเสียงที่แสดงออก 2. ประเมินความรุนแรงของความรู้สึกผู้พูด 3. เลือกคำที่เหมาะสมที่อธิบาย

                       “ความรู้สึก” ให้ตรงกับอารมณ์และความรุนแรงที่แสดงออกมาของผู้พูด 4. จัดเรียงประโยคคำพูดจาก
                       คำที่เลือกแล้วกล่าวทวนออกไป


                                   2.1.3.3 การถาม

                                   เทคนิคประการหนึ่งในการทำให้การสื่อสารชัดเจนและจำกัดการบิดเบือนก็คือการใช้

                       คำถาม  การใช้คำถามที่ดีจะทำให้เข้าใจข้อมูล เข้าใจจุดยืนและความต้องที่แท้จริง Lewicki et al.
                       (2001) ได้แบ่งคำถามเป็น 2 ประเภทคือ คำถามที่ชัดเจน และไม่ชัดเจน คำถามที่ไม่ชัดเจนนำมาสู่

                       ความยุ่งยาก คำถามที่ชัดเจนทำให้คู่เจรจาตั้งใจฟัง และเตรียมตัวสำหรับคำถามที่จะมีต่อไป

                                   ในการไกล่เกลี่ยเราสามารถใช้คำถามได้ทั้งเพื่อจัดการและสร้างความยุ่งยาก  คำถามที่

                       ชัดเจนนั้นทำให้สามารถรวบรวมข้อมูล วินิจฉัยได้อย่างถูกต้องและทำให้เข้าใจความต้องการ จุดสนใจ
                       ของคู่กรณี  แต่ก็ต้องระวังถึงคำถามที่ไม่ชัดเจน จะนำไปสู่การไกล่เกลี่ยที่ล้มเหลว


                                   นอกจากแบ่งคำถามตามความชัดเจนแล้ว ยังแบ่งคำถามได้เป็นคำถามปลายปิดและ
                       ปลายเปิด  คำถามแบบใดที่คนกลางควรใช้มากกว่ากัน? วันชัย วัฒนศัพท์ (2550) เห็นว่าการตั้ง

                       คำถามปลายเปิดที่ใช้ในการไกล่เกลี่ยนั้นเพื่อประโยชน์ในการกระตุ้นให้แสดงความคิดเห็น ตรวจสอบ

                       ทัศนคติของผู้พูด เพื่อตรวจสอบความเข้าใจให้ตรงกัน รวมถึงเพื่อเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของผู้
                       พูดว่าต้องการอะไร เช่น คุณคิดว่าอะไรเป็นรากเหง้าของปัญหา เป็นต้น คำถามที่เป็นประโยชน์นั้น

                       เป็นได้ทั้งคำถามปลายปิดและปลายเปิดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ถ้ายังไม่สนิทกันก็อาจจะใช้คำถาม

                       ปลายปิดไปก่อน เพราะอาจยังไม่อยากเปิดเผยข้อมูลของตนเอง แต่การใช้คำถามปลายปิดจะไม่ค่อย
                       ได้รับในรายละเอียดแต่จะได้รับคำตอบสั้นๆ


                                                                         ชัดเจน/ไม่ชัดเจน


                                               คำถาม

                                                                        ปลายปิด/ปลายเปิด


                       ภาพที่ 2.10 คำถามที่ควรใช้ในการสื่อสาร จาก การสังเคราะห์โดยผู้เขียน
   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53   54