Page 46 - 21736_Fulltext
P. 46
25
เช่นกัน เราไม่สามารถหาทางออกให้กับปัญหาที่ซับซ้อนของมนุษย์ได้อย่างสร้างสรรค์ ถ้าหากเราไม่ได้
ยิน ไม่เปิดกว้างและไม่ดึงเอาความอ่อนน้อมถ่อมตนของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทุกคนออกมา ไม่ใช่การ
แสดงความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (Sympathy) แต่เป็นการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น (Empathy) และ
ไม่ใช่เป็นการเสแสร้งฟังทำเป็นสนใจในชีวิตและอุปสรรคของผู้พูด แต่ต้องสนใจในเรื่องที่เขาเล่าจริงๆ
รูปแบบในการฟังอาจจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบคือ ฟังแบบนิ่งเฉย ฟังแบบตอบรับและ
ฟังอย่างตั้งใจ (Lewicki et al., 2001)
1) ฟังแบบนิ่งเฉย (Passive Listening)
เป็นการฟังที่ไม่มีการตอบสนองกลับไปยังผู้ส่งสารเกี่ยวกับความถูกต้องของข้อมูลที่
ได้รับไว้ บางครั้งการฟังแบบนี้ก็เพียงพอสำหรับการสื่อสารกัน โดยเฉพาะกับบางคนที่ชอบพูดคุยและ
รู้สึกไม่สบายใจกับการอยู่กับความเงียบนานๆ การฟังเพียงอย่างเดียวโดยไม่ตอบสนองก็เป็นประโยชน์
ในการสื่อสารเช่นกัน ผู้เขียนเคยไปจัดกระบวนการพูดคุยทางภาคเหนือ ในจังหวัดพะเยา ได้ค้นพบว่า
เวทีแห่งนั้นคนที่เข้าร่วมไม่ค่อยตอบสนองหรือตอบคำถามระหว่างที่มีการบรรยาย แต่แม้จะไม่มีการ
ตอบสนองเท่าใดนัก แต่ผู้เข้าร่วมก็เข้าใจเรื่องราวที่ผู้พูดได้นำเสนอไป
2) ฟังแบบตอบรับ (Acknowledgement)
เป็นการฟังที่มีการตอบสนองมากกว่าแบบแรก ผู้ฟังจะผงกหัว สบสายตา หรือส่งเสียง
“อือฮึ น่าสนใจ จริงหรือ แน่นอน เล่าต่อสิ” การตอบสนองแบบนี้ก็นับว่าเป็นประโยชน์ แต่อาจ
ทำให้ผู้ส่งสารเข้าใจผิดว่าผู้รับสารเห็นด้วยกับที่ตนเองนำเสนอ
3) ฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening)
เป็นการฟังที่มีการกล่าวทวนข้อความด้วยภาษาของผู้รับสารเอง ยกตัวอย่างเช่น
ผู้ส่งสาร : ฉันคิดว่าการประชุมวันนี้ไม่บรรลุเป้าหมายเลย
ผู้รับสาร : คุณรู้สึกผิดหวังกับการประชุมวันนี้
สรุปได้ว่า รูปแบบในการฟังอาจจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบคือ ฟังเฉยๆ ฟังแบบตอบรับ
และฟังอย่างตั้งใจ ดังที่ปรากฏในภาพที่ 2.7