Page 44 - 21736_Fulltext
P. 44

23





                        บทบาทหน้าที่ของคนกลาง

                        1.ความสมัครใจ
                         2.การให้คู่กรณีตัดสินด้วยตนเอง                                อำนวยการประชุม

                        3. ช่วยให้คู่ไกล่เกลี่ยหาทางออกที่         ยุทธวิธี

                        ตอบสนองความต้องการทุกฝ่าย

                         4.ทำหน้าที่อย่างเป็นกลาง                                     ประเมิน

                         5.รักษาความลับ

                       ภาพที่ 2.6  บทบาทและยุทธวิธีของคนกลาง จาก การสังเคราะห์โดยผู้เขียน


                              2.1.3 การไกล่เกลี่ยโดยคนกลางกับทักษะในการสื่อสาร

                              คนกลางควรมีทักษะในการสื่อสารอย่างไรบ้าง? คนกลางควรใช้ทักษะในการสื่อสารใดบ้าง?

                       การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพนั้นจะเกี่ยวข้องกับผู้ส่งสาร ผู้รับสาร ตัวสาร และสภาพแวดล้อมต่างๆ

                       โดยธรรมชาติของมนุษย์นั้นย่อมมีความแตกต่างหลากหลายกันไป ทั้งการเลี้ยงดู การศึกษา สภาพ
                       สังคมที่หล่อหลอมความคิด ความเชื่อ อีกทั้งลักษณะทางกายภาพ ทั้งความสูง ต่ำ ดำ ขาว และ

                       อุปนิสัยใจคอที่ไม่มีทางเหมือนกันได้ ยังไม่นับรวมถึงอคติของแต่ละบุคคล  ดังนั้นการรับรู้ข้อมูลและ
                       การแปรความข้อมูลก็ย่อมมีความแตกต่างกันไป


                              บทกลอนที่ว่า “สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม อีกคนหนึ่งตาแหลมคม
                       มองเห็นดาวอยู่พราวพราย” เป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าการมองของคนยังแตกต่างอยู่ที่ว่าจะมองสูงหรือมอง

                       ต่ำ ถ้ามองสูงก็เห็นดวงดาว ถ้ามองต่ำก็เห็นโคลนตม ยังมีเรื่องที่ใช้เปรียบเปรยการรับรู้ของคนผ่าน

                       เรื่องของคนตาบอดคลำช้าง คนตาบอดบางคนคลำไปเจอหูช้างก็บอกว่าเป็นกระด้ง อีกคนหนึ่งคลำไป
                       โดนตัวช้างก็บอกว่าเป็นยุ้งข้าว อีกคนหนึ่งคลำไปโดนขาช้างก็บอกว่าเป็นเสาบ้าน อีกคนคลำไปโดน

                       โคนหางช้างก็บอกว่าเป็นสากกะเบือ อีกคนคลำไปโดนปลายหางช้างก็บอกว่าเป็นไม้กวาด (เสฐียรพงษ์

                       วรรณปก, 2549) ดังนั้น การรับรู้ของแต่ละคนจึงมีความไม่เหมือนกัน แล้วเราจะทำอย่างไรกับการ
                       สื่อสารและการรับรู้ที่แตกต่างกัน


                              ในการสื่อสารนั้นสามารถนำไปสู่การรับรู้ที่บิดเบือนได้ สิ่งที่สำคัญคือการทำให้คู่กรณีเข้าใจซึ่ง
                       กันและกัน  ความล้มเหลวในการรับรู้ ความเข้าใจ และการสื่อสารเป็นสิ่งที่เป็นอุปสรรคขวากหนามใน

                       การไกล่เกลี่ย แม้ว่าเป้าหมายอาจตรงกันหรือไปด้วยกันได้  แต่ถ้าการสื่อสารไม่ดี ก็นำไปสู่ความ
                       ล้มเหลวในการไกล่เกลี่ยได้เช่นกัน Mayer (2000) แล้วเห็นว่าการสื่อสารที่สำคัญมากอยู่ที่ความตั้งใจ

                       ในการสื่อสารกัน มิใช่เพียงเทคนิคเท่านั้น แม้ว่าเราอาจจะใช้เทคนิคการฟังผิดพลาดไปบ้างก็ไม่ใช่

                       สาระสำคัญ หากเราแสดงให้เห็นว่าเรามีความตั้งใจจริงที่จะให้ผู้อื่นได้รับรู้ความคิดเรา และตั้งใจฟังผู้
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49