Page 48 - 21736_Fulltext
P. 48
27
2.1.3.2 การกล่าวทวน
การกล่าวทวน (Paraphrase) เป็นการกล่าวซ้ำข้อความเดิมเพื่อแสดงว่าเราฟังอยู่และ
มีความเข้าใจสิ่งที่ผู้พูดสื่อสาร การกล่าวทวนมีทั้งการกล่าวทวนไปที่เนื้อหาหรือสาระที่พูดกับกล่าว
ทวนไปที่อารมณ์ของผู้พูด การกล่าวทวนไปที่เนื้อหาสาระมีความง่ายกว่าการกล่าวทวนอารมณ์ การที่
ใช้เทคนิคการกล่าวทวนเป็นประโยชน์ในการบรรลุวัตถุประสงค์ในการสื่อสารร่วมกันเพื่อความเข้าใจที่
ถูกต้องตรงกัน
อย่างไรก็ตาม การกล่าวทวนซ้ำคำพูดเดิมของผู้พูดก็มีจุดอ่อนตรงที่เราอาจไม่ได้เข้าใจ
ใจความหมายสิ่งที่พูดออกมา เปรียบเหมือนกับนกแก้วที่ไม่เข้าใจสิ่งที่พูดออกมา การกล่าวทวนเพื่อ
ตรวจสอบอารมณ์มีความยากขึ้นไปอีกระดับหนึ่ง ยากกว่ากล่าวทวนเพียงแค่เนื้อหา คนกลางจะต้อง
ฝึกทักษะให้เกิดความชำนาญ ถ้ากล่าวทวนเพื่อตรวจสอบอารมณ์ผิดพลาดอาจนำไปสู่การไกล่เกลี่ยที่
ล้มเหลวได้ คู่กรณีจะมีความไม่พอใจสูง แต่ถ้าเรากล่าวทวนอารมณ์ได้ถูกต้อง เขาก็จะรู้สึกว่าเราสนใจ
ในตัวผู้พูดจริง วัลลี ธรรมโกสิทธิ์ (2551) ได้นำเสนอทฤษฎี (Donut Theory) เพื่อให้เข้าใจว่าการ
กล่าวทวนมีทั้งการกล่าวทวนเรื่องราวและอารมณ์ ถ้าเน้นเข้าใจเรื่องราวมากว่าเกิดอะไรขึ้น ความ
สนใจในการเข้าใจอารมณ์ก็จะน้อยลง พื้นที่ของรูปโดนัทในวงเรื่องราวก็จะใหญ่ขึ้น ส่วนพื้นที่ของ
อารมณ์ก็จะเล็กลง แต่ถ้าเน้นเข้าใจความรู้สึกมาก ๆ พื้นที่ของรูปโดนัทในวงอารมณ์ก็จะใหญ่ขึ้น ส่วน
พื้นที่ของเรื่องราวก็จะเล็กลง จะทำให้ความสนใจกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นน้อยลง แต่เข้าใจถึงอารมณ์
ความรู้สึกของผู้เล่าเรื่องได้ดี โปรดดูทฤษฎีโดนัทในภาพที่ 2.9
อารมณ์
เรื่องราว
ความรู้สึก
ภาพที่ 2.9 ทฤษฎีโดนัท จาก วัลลี ธรรมโกสิทธิ์, 2551: 7