Page 47 - 21736_Fulltext
P. 47
26
ฟังแบบนิ่งเฉย
การฟัง 3 รูปแบบ ฟังแบบตอบรับ
ฟังอย่างตั้งใจ
ภาพที่ 2.7 การฟัง 3 รูปแบบ สรุปจาก Lewicki et al., 2001
การตอบสนองเป็นสิ่งที่สำคัญมากของการฟัง และความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ด้วย 1) ฟัง
มากกว่าการพูด 2) ตอบสนองไปที่ความรู้สึก ความเชื่อของบุคคล มากกว่าที่ความคิดของเขา 3) ตาม
ผู้พูดมากกว่าไปชี้นำ 4) ทำให้สิ่งที่ผู้พูดได้พูดมีความชัดเจนมากขึ้น ไม่ควรไปถามหรือเสนอแนะ 5)
ตอบสนองความรู้สึกของเขาให้ได้ สิ่งที่สำคัญคือ ในการฟังอย่างตั้งใจนั้น จะไม่เสนอให้ผู้ไกล่เกลี่ย
เห็นด้วยทันทีทันใดกับสิ่งที่คู่เจรจาเสนอมา แต่การฟังอย่างตั้งใจนั้นเป็นทักษะที่ทำให้คนพูดออกมา
ได้อย่างครบถ้วนถึงความรู้สึก ข้อมูล กรอบในการคิด จุดยืนต่างๆ เมื่อคู่เจรจาได้พูดออกมาอย่าง
เต็มที่ครบถ้วนแล้ว ผู้ไกล่เกลี่ยจะเข้าใจทั้งหมดถึงสิ่งที่คู่เจรจาต้องการ และสามารถพูดคุยกันถึง
แนวทางที่เหมาะสมร่วมกัน สอดคล้องกับที่ Mayer (2000) เห็นว่าการฟังอย่างตั้งใจเป็นการเชื่อมโยง
ทั้งผู้พูดและผู้ฟังเข้าไว้ด้วยกัน ให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกันอย่างจริงจัง และทั้งสองฝ่ายจะพยายาม
เชื่อมโยงความต้องการของทั้งสองฝ่ายเพื่อนำไปสู่ทางออกร่วมกัน ในขณะที่ วันชัย วัฒนศัพท์ (2550)
เห็นว่าทักษะในการฟังอย่างตั้งใจมีความสำคัญที่สุดในการทำให้การสื่อสารบรรลุผลโดยเน้นการฟังกัน
อย่างมีปฏิสัมพันธ์ด้วยการสื่อสารสองทาง เวลาฟังอีกคนพูด เราก็ต้องไม่พูดแทรกให้เสียสมาธิ เน้น
การสบตา เพราะดวงตาคือหน้าต่างของหัวใจ การสบตามีความสำคัญในการเข้าใจว่าอีกฝ่ายรู้สึก
อย่างไร รวมถึงการพยักหน้า ส่งเสียงเออ ออ ว่ากำลังฟังอยู่
การฟังอย่างตั้งใจจึงประกอบไปด้วย 1) ไม่พูดแทรกขณะกำลังฟัง 2) สบตา 3) พยัก
หน้า ส่งเสียง ครับ, ค่ะ 4) กล่าวทวนทั้งเนื้อหาและอารมณ์
การฟังอย่างตั้งใจ
- ไม่พูดแทรกขณะกำลังฟัง
- สบตา
- พยักหน้า ส่งเสียง ครับ, ค่ะ
- กล่าวทวนเนื้อหาและอารมณ์ ความรู้สึก
ภาพที่ 2.8 การฟังอย่างตั้งใจ จาก การสังเคราะห์โดยผู้เขียน