Page 45 - 21736_Fulltext
P. 45

24



                       พูดอย่างแท้จริง การสนทนาก็จะดำเนินต่อไปได้ ในทางกลับกันหากเราใช้เทคนิคการสื่อสารได้ดีมาก
                       แต่ไม่ได้มีความสนใจกันและกันที่จะสื่อสารร่วมกันอย่างแท้จริงแล้วก็จะจัดการความขัดแย้งได้ยาก

                         1
                       ขึ้น
                               การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพรวมถึงการสื่อสารอย่างสันติ (Nonviolent Communication)

                       เนื่องจากเป็นเครื่องมือหนึ่งในการสื่อสารอันทรงพลังที่ทำให้คู่กรณีรู้สึกดีกับผู้สื่อสาร Gomes de
                       Matos (2006) ได้อ้างถึงงานของ Rosenberg (2003) ในการสื่อสารเกี่ยวกับความรู้สึก 2 กลุ่ม กลุ่ม

                       แรกเป็นความรู้สึก เ ชิงบวก (Positive Feelings) กลุ่มที่สองเป็นความรู้สึกเชิงลบ (Negative

                       Feelings) การสื่อสารความรู้สึกเชิงบวกทำให้ตอบสนองต่อเป้าหมายในการสื่อสาร  คำที่ใช้เกี่ยวข้อง
                       กับ มิตรภาพ ความรัก สันติ ความอบอุ่น  การสื่อสารความรู้สึกเชิงลบ ไม่ตอบสนองต่อเป้าหมาย คำ

                       ที่ใช้เกี่ยวข้องกับ ความโกรธ ความผิดหวัง ความหดหู่ ความขมขื่น และได้ยกตัวอย่าง คำพูดที่ควรใช้
                       ในการสื่อสารเพื่อไม่ให้เกิดความรุนแรงคือ เปลี่ยนจากการบังคับเป็นการขอร้อง เปลี่ยนจากการต่อว่า

                       คนอื่นเป็นการพูดถึงความรู้สึกตัวเอง เป็นต้น

                              ทักษะของคนกลางในการทำให้การสื่อสารมีประสิทธิภาพ ประกอบไปด้วยทักษะหลายด้าน

                       ประกอบด้วย

                                   2.1.3.1 การฟัง


                                   การฟังอย่างไรถึงจะเข้าใจได้ถูกต้องสามารถจับใจความได้ คนกลางควรมี
                       ความสามารถในการสำรวมความคิดติดต่อกันได้เป็นระยะเวลานานๆ แตกต่างจากคู่กรณีที่เน้นการ

                       สื่อสารแบบโต้แย้ง ฟังอีกฝ่ายเพื่อที่จะได้โต้แย้งกลับไป โดยอาจเปรียบเทียบกับเป็ดเวลาร้อง ก๊าบๆ มี

                       เสียงแต่ฟังไม่ได้ศัพท์ ฟังแล้วไม่เข้าใจ เฉกเช่นเดียวกับคู่กรณีที่สื่อสารกันแบบเป็ด แต่คนกลางไม่ได้มี
                       ส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องที่เกิดขึ้นจึงได้เปรียบและไม่ควรใช้การฟังแบบคู่กรณีที่จะนำไปสู่การโต้เถียงกัน

                       ไสว บุญมาและคณะ (2554) อธิบายไว้ในหนังสือ ฟังอย่างไรจะได้ยิน ในสมัยดึกดำบรรพ์คนต้องใช้หู

                       มากกว่าปากในการฟังเสียงสัตว์ป่าเพื่อล่าเป็นอาหารและฟังเสียงสัตว์ร้ายที่จะมาทำอันตรายตน
                       จนกระทั่งถึงปัจจุบัน เราก็ยังใช้การฟังมากกว่าการพูดในการสื่อสารถึงร้อยละ 50 แต่การให้

                       ความสำคัญกับการเรียนการสอนด้านการฟังกลับมีน้อยกว่าการฝึกพูดหลายเท่า

                                   การฟังอย่างมีประสิทธิภาพหรือฟังให้ได้ยินเป็นอย่างไร?  Kahane (2004) กล่าวถึง

                       การฟังที่ดีต้องเป็นการฟังอย่างเปิดกว้าง หมายถึง การเต็มใจให้ตัวเราได้สัมผัสถึงสิ่งที่อยู่ในใจผู้อื่น




                       1  ตัวอย่างในชีวิตประจำวันของเรามีเป็นจำนวนมาก ที่แสร้างทำเป็นฟัง แต่ไม่ได้ฟังจริงๆ เช่น คนไทยบางคนที่พูดคุย

                       กับชาวต่างชาติ แต่ฟังและพูดภาษาอังกฤษได้ไม่ดี คนไทยคนนั้นใช้การพยักหน้า สบตา แต่เมื่อชาวต่างชาติถาม
                       คำถาม ผู้รับสารกลับไม่สามารถตอบได้
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50