Page 28 - b29259_Fulltext
P. 28
หรือบุคคล ๆ เดียว เพราะจะนำาพาไปสู่การปกครองแบบทรราชย์ (Tyranny)
30
อันจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อสิทธิเสรีภาพของประชาชน ดังนั้น จึงมี
การพัฒนาหลักคิดมาจนถึงปัจจุบันโดยมีสาระสำาคัญว่า อำานาจจะต้อง
ถูกกระจาย หรือแบ่งปันไป (Division of Powers) ไม่รวมศูนย์อยู่ที่กลุ่ม
บุคคลใด หรือบุคคลใด เมื่อพิจารณาผ่านพันธกิจการปกครองของรัฐ
31
อันประกอบไปด้วยหน้าที่ที่ผิดแผกแตกต่างกัน กล่าวคือ หน้าที่ในการตรา
กฎบัตรกฎหมาย หน้าที่ในการบริหารประเทศ และหน้าที่ในการตัดสิน
ข้อพิพาทต่าง ๆ อำานาจรัฐก็จะถูกกระจายจัดแบ่งไปยังฝ่ายนิติบัญญัติ
(Legislative) ฝ่ายบริหาร (Executive) และฝ่ายตุลาการ (Judiciary) แล้ว
แต่กรณีเพื่อทำาหน้าที่ข้างต้น
32
อย่างไรก็ตาม เมื่อเกิดการกระจายอำานาจสำาหรับทำาหน้าที่หลัก
ทั้งสามหน้าที่ในการปกครองแล้ว การมุ่งเน้นเฉพาะภารกิจแต่ละส่วนแต่
เพียงอย่างเดียวโดยไร้ขอบเขตจำากัดอาจก่อให้เกิดสภาวะที่องค์กรนั้น ๆ
ใช้อำานาจของตนเองตามอำาเภอใจ (Arbitrary Power) ซึ่งจะส่งผลให้
33
เป็นการกระทบต่อการใช้อำานาจขององค์กรอื่นอย่างหลีกเลี่ยงได้ผ่าน
รูปแบบต่าง ๆ ระบบของการตรวจสอบถ่วงดุล (Checks and Balances)
ระหว่างองค์กรจึงถือกำาเนิดขึ้นเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าว แต่ทั้งนี้ก็ยังคง
30 Richard Benwell and Oonagh Gay, The Separation of Powers,
Parliament and Constitution Centre 1 (2011).
31 M. J. C. Vile, Constitutionalism and the Separation of Powers 5 (1998).
32 “หลักการแบ่งแยกอำานาจ” หรือ “Separation of Powers” นี้ถูกเรียก
อีกชื่อหนึ่งผ่านการพิจารณาผ่านพันธกิจของรัฐว่า “หลักการเมืองแบบ 3 อำานาจ”
หรือ “The Trias Politica”
33 Michael Teler, Gridlock, Legislative Supremacy, and the Problem
of Arbitrary Inaction, Vol.88 Notre Dame L. Rev. 2217 (2013).
28