Page 29 - b29259_Fulltext
P. 29
รักษาความเป็นอิสระของแต่ละองค์กรให้สามารถดำาเนินการตามหน้าที่
34
ของตนเองได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง
กล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไป นอกจากฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และ
ฝ่ายตุลาการ จะทำาหน้าที่ในการออกกฎหมายก็ดี บริหารประเทศก็ดี
ตัดสินอรรถคดีก็ดี ก็ยังคงทำาหน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลการทำาหน้าที่ของ
35
ฝ่ายอื่นด้วยในขณะเดียวกัน อาทิ ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำานาจในการตรวจสอบ
ถ่วงดุลฝ่ายบริหารและฝ่ายตุลาการผ่านกลไลการถอดถอน (Impeachment) 36
ฝ่ายบริหารมีอำานาจในการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายตุลาการและฝ่ายตุลาการผ่าน
กลไกอภัยโทษ (Pardon) หรือกรณีที่ฝ่ายตุลาการมีอำานาจในการตรวจสอบ
37
ถ่วงดุลฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติผ่านกลไกการตรวจสอบความชอบ
ด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย (Constitutionality and Legality) 38
34 James E. Alt and David Dreyer Lassen, Political and Judicial Checks
on Corruption: Evidence from American State Governments, EPRU
Working Paper Series 1 (2005).
35 Shawn Marie Boyne, The German Prosecution Service: Guardians of
the Law? 32 (2014).
36 Jared P. Cole and Todd Garvey, Impeachment and Removal,
Congressional Research Service 5 (2015).
37 Kristen H. Fowler, Limiting the Federal Pardon Power, Vol.83 Indiana
Law Journal 1669 (2008).
38 สำาหรับบางประเทศที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ไม่ได้มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์
อักษรโดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษ หรือที่ได้รับอิทธิพลจากประเทศอังกฤษ ศาลอาจไม่ได้
มีแนวคิดและหลักการว่าด้วยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ (Constitutionality) หากแต่
จะใช้แนวคิดและหลักการว่าด้วยความชอบด้วยกฎหมาย (Legality) ในการเข้าไป
ตรวจสอบการใช้อำานาจขององค์กรอื่นผ่าน “หลักการกระทำาเกินขอบเขตอำานาจ
แห่งกฎหมาย” หรือ “Ultra Vires”
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 29 29