Page 56 - b29259_Fulltext
P. 56
ข) อ�านาจและหน้าที่
ประธานสภาผู้แทนราษฎรในฐานะ “ประมุขของสภา” จะมีอำานาจ
และหน้าที่สำาคัญหลัก ๆ ไม่ว่าจะเป็นการนั่งเป็นประธานในที่ประชุมเพื่อ
124
ดูแลและจัดการการประชุมให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ การดูแล
การดำาเนินกิจกรรมของสภา ควบคุมความสงบเรียบร้อยในที่ประชุมและ
บริเวณสภา เป็นผู้แทนของสภาในการออกไปดำาเนินกิจกรรมภายนอก แต่งตั้ง
กรรมการอันเป็นประโยชน์ต่อกิจการของสภา สำาหรับประเทศไทยเอง
125
รัฐธรรมนูญได้มีการบัญญัติให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรเป็นประธานรัฐสภา
ด้วยโดยตำาแหน่ง (Ex Officio) ดังนั้น จึงส่งผลให้เมื่อครั้นมีกิจการใดที่
126
รัฐธรรมนูญกำาหนดให้ต้องดำาเนินการประชุมร่วมกันของสภาผู้แทนราษฎร
และวุฒิสภา ประธานสภาผู้แทนราษฎรต้องปฏิบัติหน้าที่เป็นประธาน
ในการประชุมโดยมีประธานวุฒิสภาทำาหน้าที่เป็นรองประธานรัฐสภา ทั้งนี้
เว้นแต่ประสภาผู้แทนราษฎรมิอาจปฏิบัติหน้าที่ได้ ประธานวุฒิสภาในฐานะ
รองประธานรัฐสภาก็จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ในฐานะประธานรัฐสภาแทน
127
2.2 สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแต่ละคนในฐานะสมาชิกของฝ่ายนิติบัญญัติ
ย่อมมีหน้าที่ในการปฏิบัติตามพันธกิจหลักที่รัฐธรรมนูญได้มีการบัญญัติไว้
124 House of Commons Information Office, The Speaker, 2 (2010).
125 ข้อ 8 ข้อบังคับการประชุมสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2551
126 หมวด 7 รัฐสภา ส่วนที่ 1 บททั่วไป มาตรา 80 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พ.ศ. 2560
127 เรื่องเดียวกัน
56