Page 60 - b29259_Fulltext
P. 60
4. เอกสิทธิ์และความคุ้มกันของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
เพื่อการปฏิบัติหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพและลุล่วงของฝ่ายนิติบัญญัติ
ตามเจตจำานงของรัฐธรรมนูญ หลักกฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมือง
จึงมีแนวคิดและหลักการว่าด้วย “เอกสิทธิ์ของรัฐสภา” (Parliamentary
Privileges) ที่จะมอบ “สิทธิพิเศษบางประการ” (Privileges) แก่
สภาผู้แทนราษฎรในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติและสมาชิกที่จะได้รับการคุ้มครอง
ป้องกันอันนำาไปสู่การตราตัวบทกฎหมาย การควบคุมตรวจสอบการทำา
หน้าที่ของฝ่ายบริหารและตุลาการ และการทำาหน้าที่ตัวแทนปวงชนได้
142
อย่างเป็นอิสระ (Independent) ปราศจากการแทรกแซงขัดขวางใด ๆ
อันส่งผลต่อความมีประสิทธิภาพ (Effectiveness) ในการทำางานของฝ่าย
143
นิติบัญญัติอย่างมีนัยสำาคัญ กล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้น “เอกสิทธิ์ของรัฐสภา”
จะเข้าไปรับรองและคุ้มครองฝ่ายนิติบัญญัติใน 2 ระดับด้วยกัน ได้แก่
144
การรับรองและคุ้มครองในระดับองค์กร (Collective Privileges) และ
ในระดับบุคคล (Individual Privileges) 145
142 Parliament of Australia, No.20-Parliamentary Privilege, (Jul. 10, 2017),
http://www.aph.gov.au/About_Parliament/Senate/Powers_practice_
n_procedures/Brief_Guides_to_Senate_Procedure/No_20.
143 Nicholas Bamforth and Peter Leyland, Accountability and the
Contemporary Constitution 276 (2013).
144 นักวิชาการกฎหมายรัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองของประเทศไทยส่วนใหญ่แล้ว
ไม่ค่อยรู้จักมักคุ้นกับ “เอกสิทธิ์ระดับองค์กร” จึงส่งผลให้ตำารับตำาราในประเทศไทย
กลาวถึงและอธิบายเพียงแค่เอกสิทธิ์ระดับบุคคลเท่านั้น
145 Parliament of Canada, Parliamentary Privilege, (Jul. 10, 2017),
https://www.ourcommons.ca/About/Compendium/ParliamentaryPrivilege
/c_g_parliamentaryprivilege-e.htm.
60