Page 58 - b29259_Fulltext
P. 58
ด้วยหรือไม่อย่างไร คำาตอบก็คือ ขึ้นอยู่กับแนวคิดของแต่ละประเทศ
130
กล่าวให้ชัดเจนยิ่งขึ้นไป บางประเทศก็ยอมรับนับถือแนวคิดแรก อาทิ
131
ประเทศอินโดนีเซีย ฟิจิ นามิเบีย ฯลฯ ในขณะที่บางประเทศก็ถือตาม
แนวคิดหลัง อาทิ ประเทศเยอรมนี ฝรั่งเศส สเปน เดนมาร์ก ไทย ฯลฯ 133
132
สำาหรับแนวคิดที่ว่าผู้แทนนั้นเองต้องปฏิบัติหน้าที่โดยต้องคำานึงถึง
บุคคลที่มิได้เลือกตั้งตนเองเข้ามาด้วยแล้ว ถูกเรียกขานตามหลักกฎหมาย
รัฐธรรมนูญและสถาบันการเมืองว่า “หลักความเป็นอิสระจากอาณัติ
134
ทั้งปวงของผู้แทน” หรือ “Free Mandate of Representatives”
โดยหลักการนี้เรียกร้องป้องกันมิให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องตกอยู่
ภายใต้อิทธิพล หรือคำาสั่งการของบุคคลใด ๆ หรือแม้กระทั่งพรรคการเมือง
ที่ตนเองสังกัด ทั้งนี้เพื่อเป็นการรับประกันและคงไว้ซึ่งความเป็นอิสระใน
135
การปฏิบัติภารกิจตามระบอบประชาธิปไตยและเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ
130 Robert H. Blackman, A Mandate for Counter-revolution: Conservative
Opposition on the National Constituent Assembly, Vol. 40 Journal of
Western Society for French History 63 (2012).
131 Marc van der Hulst, The Parliamentary Mandate: A Global Comparative
Study 18 (2000).
132 Mathias Reimann and Joachim Zekoll, Introduction to German Law
67 (2005).
133 Marc van der Hulst, The Parliamentary Mandate: A Global Comparative
Study 8 (2000).
134 Nadia Urbinati, Representative Democracy: Principles and Genealogy
157 (2006).
135 Zdzislaw Kedzia and Agata Hauser, The Impact of Political Party
Control over the Exercise of the Parliamentary Mandate, 9 (2010).
58