Page 59 - b29259_Fulltext
P. 59
136
ที่คำานึงถึงประโยชน์สาธารณะ (Public Interest) เป็นใหญ่ ภายใต้ระบอบ
รัฐธรรมนูญของประเทศไทย หลักความเป็นอิสระจากอาณัติทั้งปวงของ
ผู้แทนได้รับการตระหนักรับรู้นับตั้งแต่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
พ.ศ. 2475 ตราบจนถูกยกเลิกไปเมื่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2517 บังคับใช้
137
และกลับมาอีกปรากฎตัวบนบทบัญัติของรัฐธรรมนูญอีกครั้งหนึ่งภายใต้
138
รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2521 สืบเนื่องเรื่อยมาจนกระทั่งรัฐธรรมนูญฉบับ
139
ปัจจุบัน แนวคิดและหลักการนี้ได้ถูกบัญญัติไว้อย่างประจักษ์ชัดเจนด้วย
การกำาหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นตัวแทนของปวงชนชาวไทย
ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมาย หรือความครอบงำาใด ๆ และต้อง
ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชน
140
โดยรวม อีกทั้งยังกำาหนดให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรต้องปฏิญาณตน
ก่อนเข้ารับหน้าที่ในที่ประชุมว่าตนเองจะปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ของ
ประเทศและประชาชนอันเป็นการเน้นยำ้าถึงหลักความเป็นอิสระจากอาณัติ
ทั้งปวงของผู้แทนอีกด้วย
141
136 Wolfgang C. Muller and Thomas Saalfeld, Members of Parliament
in Western Europe: Role and Behavior 69 (1997).
137 โปรดดู หมวด 3 สภาผู้แทนราษฎร มาตรา 20 ของรัฐธรรมูญแห่งราชอาณาจักรสยาม
พ.ศ. 2475
138 โปรดอ่าน หมวด 6 รัฐสภา ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สองสภา มาตรา 106 ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2521
139 โปรดอ่าน หมวด 7 รัฐสภา ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สองสภา มาตรา 114 ของ
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
140 Greg Power, Global Parliamentary Report: The Changing Nature of
Parliamentary Representation 56-57 (2012).
141 โปรดดู หมวด 7 รัฐสภา ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สองสภา มาตรา 115 ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 59 59