Page 61 - b29259_Fulltext
P. 61
4.1 เอกสิทธิ์ของสภาผู้แทนราษฎร (ระดับองค์กร)
เอกสิทธิ์ระดับองค์กรนี้ หมายถึง การที่รัฐธรรมนูญเข้าไป
พิทักษ์คุ้มครองสภาผู้แทนราษฎร รวมตลอดไปถึงคณะกรรมาธิการใน
สภาผู้แทนราษฎรให้สามารถทำาหน้าที่ของตนเองได้อย่างดีมีประสิทธิภาพ
ด้วยการป้องกันมิให้บุคคล หรือองค์กรใด ๆ เข้ามาขจัดขัดขวางอันส่งผล
ให้ทั้ง “สภาใหญ่” และ “สภาเล็ก” มิอาจปฏิบัติหน้าที่ได้ตามพันธกิจที่
146
รัฐธรรมนูญ (Constitutional Functions) กำาหนดไว้ได้ อาทิ การรับรอง
และคุ้มครองห้ามมิให้บุคคล หรือองค์กรใด ๆ เข้ามาแทรกแซงการพิจารณา
การตราตัวบทกฎหมายของสภาผู้แทนราษฎรอันถือเป็นเรื่องกิจการภายใน
องค์กรที่รู้จักกันในนาม “วงงานของรัฐสภา” (Parliamentary Proceedings) 147
ทั้งนี้ เนื่องจากในสายตาของระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญมองว่าขั้นตอน
การตรา หรือแก้ไขเพิ่มเติมตัวบทกฎหมายอยู่ใน “เขตแดน หรือปริมณฑล
ของฝ่ายนิติบัญญัติ” ที่สภาผู้แทนราษฎรพึงบริหารจัดการตนเอง หรือ
ในกรณีของการที่คณะกรรมาธิการในสภาผู้แทนราษฎรใช้อำานาจใน
การออกคำาสั่งเรียกบุคคลใด ๆ มาให้ข้อเท็จจริง หรือนำาส่งพยานหลักฐาน
ใด ๆ อันเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับการปฏิบัติหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎร
148
หากปรากฏการตั้งใจละเมิดคำาสั่ง หรือการกระทำาอื่นใดอันมีลักษณะเป็น
การขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมาธิการโดยปราศจากเหตุผล
146 David Blunt, Parliamentary Sovereignty and Parliamentary Privilege 6
(2015).
147 Bernard Wright, Pattern of Change-Parliamentary Privilege 3 (2007).
148 ดูหมวด 7 รัฐสภา ส่วนที่ 4 บทที่ใช้แก่สองสภา มาตรา 127 ของรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560
หลักสูตรเตรียมความพร้อมส�าหรับการเมืองระดับชาติ 61 61