Page 10 - kpiebook62001
P. 10

บทที่ 1

                                                             บทน้า



               1.1 ที่มาและความส้าคัญ



                       ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน นโยบายสวัสดิการถูกทยอยน าออกมาใช้ในประเทศไทยโดยหวังว่าจะช่วยบรรเทา
               ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ าได้ รูปแบบของนโยบายดังกล่าวนั้นแตกต่างหลากหลายออกไปซึ่งส่วนใหญ่นั้นจะ

               ให้การช่วยเหลือหรือสงเคราะห์ไปตามกลุ่มคน เช่น เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยสงเคราะห์ผู้ป่วยเอดส์ เบี้ยคนพิการ

               สวัสดิการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี เงินช่วยเหลือเกษตรกร โครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อยและประชาชนผู้มีรายได้
               น้อย หรือเป็นลักษณะการช่วยเหลือเป็นครั้งคราว เช่น เงินช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน เงินช่วยเหลือ

               เกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติ เงินช่วยเหลือเยียวยาฯ ส าหรับจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีเพียงโครงการประกันสุขภาพถ้วน

               หน้าเท่านั้นที่ให้สิทธิกับประชาชนที่ไม่มีสิทธิรักษาพยาบาลอื่นโดยอัตโนมัติ แม้ว่าจะมีนโยบายสวัสดิการจ านวนมาก
               สถิติต่าง ๆ ก็สะท้อนว่าปัญหาความเหลื่อมล้ าไม่ได้การบรรเทาลงมากเท่าที่ควร

                       ศรพล ตุลยะเสถียร และคณะ (2560) ตั้งข้อสังเกตว่าการจัดสวัสดิการที่ผ่านมายังมีช่องว่างหลายประการ

               ได้แก่ (1) เกณฑ์ในการพิจารณาผู้มีสิทธิรับสวัสดิการส่วนใหญ่เป็นไปตามจุดประสงค์บางประการโดยไม่ได้ตรวจสอบ
               ฐานะด้านอื่น ๆ (2) สวัสดิการบางประเภทยังเป็นแบบเหวี่ยงแห ซึ่งผู้มีสิทธิส่วนหนึ่งนั้นไม่มีความจ าเป็นต้องได้รับการ

               ช่วยเหลือ (3) สวัสดิการบางอย่างใช้ดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐในการตัดสิน (4) ข้อมูลของประชาชนไม่มีความทันสมัย
               ท าให้เม็ดเงินรั่วไหล ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการจัดสรร (5) ประชาชนบางส่วนมีต้นทุนในการไปรับสวัสดิการใน

               รูปแบบเงินสดหรือเงินฝาก โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจึงได้รับการศึกษาและผลักดันออกมาเป็นรูปธรรมโดย

               นักวิชาการจากส านักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลัง โดยมีจุดเน้นที่ประสิทธิภาพในการจัดสรรและ
               ประสิทธิผลในการบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ า ด้วยความพยายามจัดสรรสวัสดิการให้กับคนที่มีความจ าเป็นเท่านั้น

                       โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจึงได้ถือก าเนิดขึ้น รัฐบาลได้เปิดให้ประชาชนได้ลงทะเบียนตามโครงการ

               ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐในวันที่ 15 กรกฎาคมถึง 15 สิงหาคมปี พ.ศ. 2559 ผ่านทางธนาคารกรุงไทย ธนาคาร
               ออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ ผู้มาลงทะเบียนรับสวัสดิการแห่งรัฐจะต้อง (1) เป็นผู้มีสัญชาติไทย (2)

               อายุ 18 ปีขึ้นไป และ (3) เป็นผู้ว่างงานหรือมีรายได้ไม่เกิน 100,000 บาทในปี พ.ศ. 2558 ภายในสิ้นปี พ.ศ. 2559

               รัฐบาลได้ทดลองโครงการสวัสดิการแห่งรัฐเป็นครั้งแรก โดยการโอนเงินสดจ านวน 3,000 บาท ให้กับผู้มีรายได้ไม่ถึง
               30,000 บาท และ 1,500 บาท ส าหรับผู้ที่มีรายได้เกิน 30,000 บาท แต่ไม่ถึง 100,000 บาท มีผู้สนใจมาลงทะเบียนถึง

               8.4 ล้านคน และเมื่อตรวจสอบคุณสมบัติแล้ว มีผู้มีคุณสมบัติตามเกณฑ์และได้รับเงินโอนถึง 7.7 ล้านคน

                       ถัดมาในปี พ.ศ. 2560 รัฐบาลได้เปิดให้ประชาชนไปลงทะเบียนอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 3 เมษายน ถึงวันที่ 15
               พฤษภาคม พ.ศ. 2560 โดยครั้งนี้ได้เพิ่มช่องทางในการลงทะเบียนนอกเหนือจากสถาบันการเงินเฉพาะกิจในครั้งแรก

               แล้ว ยังให้คลังจังหวัด 76 จังหวัดและส านักงานเขตกรุงเทพมหานครทั้ง 50 เขตเป็นหน่วยรับลงทะเบียนด้วย ครั้งนี้


                                                                1
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15