Page 14 - kpiebook62001
P. 14
เพื่อให้การศึกษาในส่วนนี้ด าเนินไปอย่างเป็นระบบ คณะวิจัยจะแบ่งการศึกษาประสบการณ์จากต่างประเทศ
ออกเป็นสองส่วน ในส่วนแรก คณะวิจัยจะศึกษาประสบการณ์จากต่างประเทศเฉพาะในแง่มุมที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย
สวัสดิการแบบเจาะจงไปที่คนจน (poverty targeting) ซึ่งเป็นนโยบายลักษณะเดียวกันกันกับโครงการบัตรสวัสดิการ
เพื่อคนจน การวิเคราะห์ในส่วนแรกเพื่อให้สามารถเกิดข้อเสนอที่ตรงกับการพัฒนานโยบายในลักษณะเดียวกันใน
ประเทศไทย
ในส่วนที่สอง คณะวิจัยจะตั้งขอบเขตของนโยบายสวัสดิการที่น ามาศึกษาไว้กว้างกว่าส่วนแรก โดยจะมองไปที่
ระบบสวัสดิการในภาพรวมที่แต่ละประเทศได้น ามาใช้ การศึกษาในส่วนนี้มองนโยบายสวัสดิการเจาะจงไปที่คนจนเป็น
แค่นโยบายแบบหนึ่งที่ถูกน ามาผสมผสานกับนโยบายสวัสดิการแบบอื่น ๆ เช่น สวัสดิการแบบถ้วนหน้า (universal)
และสวัสดิการแบบมุ่งให้เกิดการจ้างงาน โดยการวิเคราะห์เปรียบเทียบประสบการณ์จากต่างประเทศในส่วนนี้จะมุ่งตอบ
ค าถามว่าระบบสวัสดิการโดยรวมควรจะถูกออกแบบอย่างไรให้ลดความเหลื่อมล้ าได้ดีที่สุด และในการออกแบบนั้น
นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงไปที่คนจนควรจะมีบทบาทมากเพียงใด และผสมผสานไปกับนโยบายสวัสดิการรูปแบบ
อื่น ๆ รวมถึงปัจจัยเชิงสถาบันอื่น ๆ อย่างไร
1.3.2.1 การศึกษานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน (poverty targeting)
กรอบส าหรับการวิเคราะห์ประสบการณ์จากต่างประเทศในการศึกษานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน
จะมุ่งไปที่การส ารวจสี่แง่มุม คือ 1) กระบวนการออกแบบนโยบาย 2) รูปแบบนโยบายที่เกิดขึ้น 3) ปัญหาในการด าเนิน
นโยบาย และ 4) แนวทางแก้ไขปัญหาที่ถูกน ามาใช้ ในส่วนนี้คณะวิจัยจะอธิบายคร่าว ๆ ถึงแง่มุมเหล่านี้
(1) กระบวนการออกแบบนโยบาย
การศึกษาแง่มุมของกระบวนการออกแบบนโยบาย มุ่งศึกษาสาเหตุเบื้องหลังการเลือกนโยบายแบบเจาะจงที่
คนจนมาใช้ของแต่ละประเทศ ในภาพรวมนั้นนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนเริ่มเป็นที่นิยมมากขึ้นในทศวรรษที่
1980 โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศก าลังพัฒนา การที่นโยบายเช่นนี้ได้รับความสนใจมากขึ้นเชื่อมโยงโดยตรงกับอิทธิพล
จากแนวคิดการบริหารเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมใหม่ (Neo-Liberalism) ซึ่งมองเห็นถึงปัญหาของนโยบายสวัสดิการแบบ
ถ้วนหน้าว่าสร้างภาระทางการคลังให้กับรัฐบาลสูง ทั้งการช่วยเหลือแบบถ้วนหน้ายังอาจหมายถึงการที่รายจ่ายด้าน
สวัสดิการไม่ได้ไปสู่ผู้ที่ยากจนและมีความต้องการการช่วยเหลืออย่างแท้จริง ด้วยการสนับสนุนแนวคิดเช่นนี้ขององค์กร
ระหว่างประเทศเช่นธนาคารโลก รัฐบาลในประเทศก าลังพัฒนาจ านวนมากจึงหันมาใช้แนวทางสวัสดิการแบบ
เฉพาะเจาะจงนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ อย่างไรก็ตาม ภายใต้แนวโน้มดังกล่าว เหตุผลในการน านโยบายเช่นนี้มาใช้ในประเทศ
ต่าง ๆ ยังอาจมีรายละเอียดแตกต่างกัน คณะวิจัยจะท าการศึกษารายละเอียดเหล่านี้เพื่อมาเปรียบเทียบกับประเทศไทย
(2) รูปแบบต่าง ๆ ของนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน
การศึกษารูปแบบของนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน จะศึกษาการออกแบบนโยบายที่แตกต่างกันในแต่
ละประเทศ โดยเฉพาะในด้านของกระบวนการเจาะจง (targeting) ที่มีได้หลายรูปแบบ ดังนี้
5