Page 15 - kpiebook62001
P. 15

  การเจาะจงด้วยดัชนีทางเศรษฐกิจ เช่น ระดับรายได้ หรือระดับการบริโภค นโยบายบัตรสวัสดิการคนจน

               เป็นตัวอย่างของวิธีนี้ โดยการให้สวัสดิการจะเกิดขึ้นหลังจากกระบวนการตรวจสอบประชาชนว่ามีผู้ใดที่มีระดับของดัชนี
               ทางเศรษฐกิจผ่านเกณฑ์ที่จะได้รับ เช่น มีรายได้หรือระดับการบริโภคที่อยู่ในเกณฑ์ฐานะยากจน

                         การเจาะจงผ่านพื นที่ เช่น ระบุการช่วยเหลือไปที่พื้นที่ที่ทางรัฐบาลมีข้อมูลว่ามีคนจนอาศัยอยู่เป็นจ านวน

               มาก
                         การเจาะจงผ่านการให้ประชาชนเลือกเข้ารับบริการเอง (self-targeting) วิธีการเช่นนี้อาจใช้ผ่านการ

               อุดหนุนบริการสาธารณะที่ประชาชนฐานะยากจนใช้เป็นหลัก ดังเช่นในกรณีรถเมล์ฟรีของประเทศไทย

                        ในการศึกษาแง่มุมนี้ คณะวิจัยจะมุ่งส ารวจว่าความแตกต่างในการออกแบบกระบวนการเจาะจงส่งผลต่อ
               ประสิทธิภาพของนโยบายอย่างไร


                       (3) ปัญหาในการด้าเนินนโยบาย

                        แง่มุมส าคัญที่คณะวิจัยจะส ารวจจากประสบการณ์ต่างประเทศคือปัญหาที่แต่ละประเทศต้องประสบในการ

               ด าเนินนโยบายแบบเจาะจงที่คนจน โดยทั่วไปแล้วนโยบายในลักษณะเช่นนี้มักจะพบกับความท้าทายในลักษณะที่
               คล้ายกัน ดังนี้

                         ต้นทุนในการบริการจัดการ ของนโยบายแบบเจาะจงมักจะค่อนข้างสูง เนื่องจากจะต้องมีการบริหาร

               จัดการให้การกระจายสวัสดิการสามารถไปสู่กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการได้จริง ความยากล าบากของการบริหารจัดการก็คือ
               การลดโอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความผิดพลาดกรณีแรก (type I error) เกิดจากการที่สวัสดิการไม่สามารถไปถึง

               กลุ่มเป้าหมายที่ยากจนได้ อาจด้วยเพราะเกณฑ์การได้รับสวัสดิการที่ตั้งไว้สร้างความยากล าบากให้กับคนที่ยากจนใน

               การแสดงข้อมูลและหลักฐาน อย่างไรก็ตาม การหลีกเลี่ยงความผิดพลาดเช่นนี้ด้วยการผ่อนปรนเกณฑ์การเข้าถึง
               สวัสดิการให้ง่ายขึ้นก็อาจน าไปสู่ความผิดพลาดของนโนบายในอีกกรณี คือความผิดพลาดในกรณีที่สอง (type II error)

               ที่เกิดขึ้นจากการที่คนที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มเป้าหมายที่มีฐานะยากจนกลับสามารถเข้ารับสวัสดิการได้ จะเห็นได้ว่าการ

               หลีกเลี่ยงความผิดพลาดทั้งสองกรณีพร้อมกันเป็นเรื่องทีท้าทาย และมักจะน าไปสู่ต้นทุนการบริหารจัดการที่สูงตามไป
                         การรั่วไหลของทรัพยากรจากปัญหาคอร์รัปชัน เป็นปัญหาที่ส าคัญอีกประการของนโยบายแบบสวัสดิการ

               สวัสดิการแบบเจาะจง งานศึกษาจ านวนมากพบว่านโยบายแบบเจาะจงมักจะมีการรั่วไหลที่สูง ตัวอย่างเช่น การศึกษา

               ของธนาคารโลกพบว่านโยบายอุดหนุนโรงเรียนที่ยากจนในประเทศอูกันดามีอัตราการรั่วไหลของเงินงบประมาณสูงถึง
               กว่า 80-90 เปอร์เซ็นต์ (Reinikka and Svensson, 2004) ในขณะที่การศึกษาของเอดีบีพบว่าโครงการสร้างงานใน

               อินเดียมีอัตรารั่วของงบประมาณอุดหนุนคนจนถึงกว่า 75 เปอร์เซ็นต์ (Weiss, 2005) สาเหตุที่สวัสดิการแบบ

               เฉพาะเจาะจงมักจะเกิดปัญหาคอร์รัปชันมาจากการที่ผู้บริหารนโยบายเหล่านี้สามารถมีอ านาจในการจัดสรร อ านาจ
               ดังกล่าวสร้างค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (rent) และเปิดช่องทางให้พวกเขาสามารถใช้อ านาจจัดสรรไปในทางที่ตนเองได้รับ

               ประโยชน์ได้





                                                                6
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20