Page 105 - kpiebook62001
P. 105

ค านึงถึงต้นทุนในระดับปฏิบัติการด้วย เพราะตามหลักการของการจัดสวัสดิการแบบเจาะจงควรต้องมีการคัดกรอง

               รายได้เป็นประจ าทุกปี ซึ่งผู้รับภาระในการคัดกรองและการส่งมอบบัตรนั้นตกอยู่ที่หน่วยรับลงทะเบียนดังที่กล่าวไว้ใน
               ส่วนของต้นทุน

                       สุดท้ายคือ มุมมองของนักวิชาการ จากการสัมภาษณ์และรวบรวมข่าวนั้นพบว่านักวิชาการส่วนใหญ่แสดง

               ความกังวลต่อเรื่องประสิทธิภาพในการเจาะจงไปที่คนจน รูปแบบของสวัสดิการที่จัดสรรให้ ผลลัพธ์ที่คาดหวังในระดับ
               เศรษฐกิจมหภาค และแนวโน้มการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มนายทุนดังที่กล่าวไว้ในส่วนก่อนหน้า

                       นอกจากนั้น ยังมีประเด็นบางส่วนที่ยังไม่ได้รับการกล่าวถึงหรือมีการศึกษาซึ่งส่งผลต่อการตอบรับ ความเป็นไป

               ได้และความยั่งยืนของโครงการ เช่น มุมมองของบุคคลทั่วไป เป็นต้นว่าคนชนชั้นกลางที่ไม่ได้เป็นผู้มีบัตรสวัสดิการแห่ง
               รัฐนั้นให้การยอมรับกับโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนที่ไม่ได้มีส่วนได้หรือข้อง

               เกี่ยวกับกระบวนการใดของโครงการนี้ ในระยะยาว ชนชั้นกลางบางส่วนอาจมองว่าตนเองเสียประโยชน์จากเงินภาษีโดย

               ที่ไม่ได้ประโยชน์กลับคืนมาหรือไม่ และตีตราว่าผู้มีบัตรเป็นภาระที่กลุ่มผู้เสียภาษีต้องคอยดูแลหรือไม่ การที่โครงการ
               สวัสดิการจะเป็นที่ยอมรับนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ตั้งแต่ฐานคิดของคนในสังคม วิธีการจัดการโครงการ การสื่อสารของ

               ภาครัฐ สิ่งเหล่านั้นล้วนศึกษาได้ยาก แต่กลับมีผลส าคัญยิ่งที่จะท าให้โครงการสวัสดิการได้รับการยอมรับและมีความ

               ยั่งยืนในตัวมันเอง
                       ส่วนอีกประเด็นอื่น ๆ ที่อาจส่งผลต่อความเป็นไปได้ของโครงการ ได้แก่ การจัดโครงการลงทะเบียนในแต่ละปี

               แม้ว่าในทางหลักการแล้วควรต้องมีการคัดกรองรายได้ทุกปี แต่การลงทะเบียนในแต่ละปีจะสร้างต้นทุนค่อนข้างสูง

               เพราะจะต้องมีกลุ่มคนอย่างน้อย 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่เคยมีบัตรแต่ปัจจุบันมีรายได้เกินเกณฑ์ที่จะได้รับสวัสดิการแล้ว
               และกลุ่มที่เคยมีรายได้เกินเกณฑ์แต่ปัจจุบันมีรายได้เข้าเกณฑ์ที่จะได้รับสวัสดิการ แน่นอนว่ากระทรวงการคลังจะต้อง

               ออกบัตรใหม่ส าหรับผู้มีสิทธิกลุ่มใหม่ แต่จะตัดสิทธิอย่างไรส าหรับผู้เคยมีบัตร จะเป็นรูปแบบการระงับใช้บัตรหรือต้อง

               ท าลาย และในอนาคตหากคนกลุ่มที่เคยถูกตัดสิทธิไปแล้วแต่กลับมามีรายได้เข้าเกณฑ์อีกครั้งจะต้องมีการผลิตบัตรซ้ า
               หรือไม่ กระทรวงการคลังจะมีรูปแบบในการจัดการปัญหาดังกล่าวอย่างไร

                       นอกจากนั้น แหล่งที่มาของเงินและการจัดการกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานรากและสังคม

               ตั้งแต่เริ่มต้นจัดท าโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ กระทรวงการคลังขออนุมัติจากงบกลาง รายการส ารองจ่าย
               กรณีฉุกเฉินหรือจ าเป็นมาเพื่อจัดท าโครงการดังกล่าวโดยไม่ได้จัดท างบประมาณเฉพาะโครงการ การขออนุมัติจากงบ

               กลางอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงทางการคลังได้ เพราะสมมติว่าโครงการนี้จะใช้เงินประมาณ 1 แสนล้านบาทในแต่ละปี

               โดยรวมทั้งมาตรการหลักและมาตรการเสริมเข้าด้วยกัน เงินงบประมาณจ านวนนี้คิดเป็นร้อยละ 20-25 ของงบกลาง
               ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 และเพิ่งมีการ ‘เติมเงิน’ หรือจัดสรรงบกลางเข้ากองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐาน

               รากและสังคมอีก 37,900 ล้านบาทในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562 แม้ว่าการขออนุมัติจากงบกลางจะมีข้อดีตรงที่มีความ

               ยืดหยุ่นมากกว่าการจัดท างบประมาณส าหรับโครงการในแต่ละปี แต่ก็มีข้อเสียที่ไม่มีเพดานก าหนดการขออนุมัดิซึ่ง
               เป็นไปตามที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ และถือว่าเป็นการใช้งบประมาณที่ไม่ถูกต้องตามจุดประสงค์ของงบกลางนัก ความ




                                                               96
   100   101   102   103   104   105   106   107   108   109   110