Page 117 - kpiebook62001
P. 117

บทที่ 5

                                         กรณีศึกษานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน


                       ในบทนี้คณะวิจัยจะน าเสนอกรณีศึกษาเพื่อวิเคราะห์ประสบการณ์การด าเนินนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่

               คนจนที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ โดยจะเลือกกรณีศึกษาจากประเทศที่มีบริบทเหมาะสมในการสร้างบทเรียนให้กับการ

               ด าเนินนโยบายในลักษณะเดียวกันของประเทศไทย การน าเสนอกรณีศึกษาจะแบ่งออกเป็นสองส่วน เพื่อตอบ
               จุดประสงค์ที่แตกต่างกัน

                        ในส่วนแรก กรณีศึกษาที่น าเสนอจะเป็นกรณีศึกษาเพื่อส ารวจบทเรียนการด าเนินนโยบายสวัสดิการแบบ

               เจาะจงที่คนจนเป็นหลัก โดยคณะวิจัยได้เลือกกรณีศึกษาเป็นประเทศก าลังพัฒนาสามประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย
               อินเดีย และจีน เพื่อส ารวจลักษณะนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนที่ประเทศเหล่านี้ด าเนิน รวมไปถึงตั้งข้อสังเกต

               ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ และในท้ายที่สุดคณะวิจัยจะท าการส ารวจบทเรียนจากกรณีศึกษาเหล่านี้

                        และในส่วนที่สอง กรณีศึกษาจะถูกน าเสนอเพื่อแสดงถึงภาพรวมของการด าเนินนโยบายสวัสดิการว่าสวัสดิการ
               แบบเจาะจงที่คนจนนั้นถูกจัดวางอยู่ในนโยบายสวัสดิการแบบใดเมื่อมองภาพของระบบสวัสดิการโดยรวม รวมถึงการจัด

               วางดังกล่าวสะท้อนลักษณะโดยรวมของระบบสวัสดิการที่แตกต่างกันไปอย่างไร ส าหรับกรณีศึกษาในส่วนที่สองจะ

               ประกอบไปด้วยสองประเทศ ได้แก่ สหราชอาณาจักร และสวีเดน โดยทั้งสองประเทศเป็นตัวอย่างส าคัญของระบบ
               สวัสดิการแบบที่เน้นบทบาทของสวัสดิการแบบเจาะจงกับระบบที่เน้นสวัสดิการแบบถ้วนหน้า



               5.1 กรณีศึกษาเพื่อส้ารวจบทเรียนการด้าเนินนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน



                       อินโดนีเซีย อินเดีย และจีนถูกเลือกมาเพื่อส ารวจปัญหาที่เกิดขึ้นกับการด าเนินนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจง
               เนื่องจากทั้งสามประเทศเป็นประเทศขนาดใหญ่ที่เผชิญความท้าทายในการแก้ปัญหาความยากจน และทั้งสามประเทศ

               ต่างก็ใช้นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนเป็นชุดนโยบายสวัสดิการหลัก แม้จะแตกต่างกันในรูปแบบการน าไปใช้

               การส ารวจกรณีศึกษาทั้งสามประเทศจะให้ภาพที่ครอบคลุมในการส ารวจปัญหาและความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เพื่อ
               น ามารวบรวมเป็นบทเรียนส าหรับประเทศไทยได้


                   5.1.1 อินโดนีเซีย

                       ในช่วงระหว่างทศวรรษ 1970s และ 1990s การเติบโตทางเศรษฐกิจของอินโดนีเซีย ผสมกับการขยายตัวของ

               การศึกษา และโครงสร้างพื้นฐาน มีบทบาทส าคัญในการช่วยลดความยากจนของอินโดนีเซีย โดยในช่วงดังกล่าวสัดส่วน
               คนยากจนของอินโดนีเซียลดจาก 40 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเหลือเพียง 11 เปอร์เซ็นต์ (Perdana and Maxwell,

               2005) นโยบายที่แก้ปัญหาความยากจนด้วยสวัสดิการแบบเจาะจงในช่วงเวลานี้มีนโยบายส าคัญเพียงประการเดียวคือ

               นโยบายการที่มุ่งเป้าการช่วยเหลือที่หมู่บ้านที่ยากจน ซึ่งเริ่มด าเนินการในปี 1994 อย่างไรก็ตาม ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ
               ในปี 1997 ได้สร้างผลกระทบกับอินโดนีเซียอย่างหนัก และได้ส่งผลให้จ านวนคนยากจนเพิ่มขึ้นมาก สัดส่วนคนยากจน


                                                               108
   112   113   114   115   116   117   118   119   120   121   122