Page 122 - kpiebook62001
P. 122

นั้น เจ้าหน้าที่ในระดับพื้นที่จะท าการแจกจ่ายบัตรสุขภาพต่อให้คนยากจน โดยพิจารณาสถานะครัวเรือนผ่านข้อมูล

               BKKBN ผสมกับหลักเกณฑ์ที่อาจก าหนดขึ้นเพิ่มเติมในแต่ละพื้นที่ (Pradhan et al. 2007)
                       เช่นเดียวกับนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนส่วนใหญ่ของอินโดนีเซีย ผลการศึกษาโครงการบัตรสุขภาพ

               ในระยะเริ่มแรกพบว่าโครงการยังไม่สามารถเข้าถึงคนยากจนได้จริง นอกจากนี้ ยังมีครัวเรือนที่กลุ่มที่ฐานะอยู่ในระดับ

               20 เปอร์เซ็นต์บนสุดส่วนหนึ่งกลายเป็นผู้ได้รับบัตร ความคลาดเคลื่อนที่เกิดในโครงการนี้เกิดจากปัจจัยเช่นความไม่
               เข้าใจของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ความคลาดเคลื่อนกันระหว่างข้อมูล BKKBN กับดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจอื่น นอกจากนี้ ยังมี

               ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการกระจายบัตร โดยบัตรไม่ได้รับการกระจายไปสู่คนจนเนื่องจากไม่ได้มีงบประมาณ

               สนับสนุนกระบวนการดังกล่าว และยังมีกรณีที่ตัวเจ้าหน้าที่ในระบบสาธารณสุขไม่พยายามกระจายบัตร เนื่องจากมอง
               ว่าจะน าไปสู่การเพิ่มภาระงานกับตนเอง และยังมีการขายบัตรให้กับคนที่ไม่ได้ยากจน (Soelaksono et al., 2003)


                   5.1.2 อินเดีย

                        ลักษณะส าคัญที่ท าให้อินเดียเป็นประเทศที่เหมาะสมจะเป็นกรณีศึกษานโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงคนจนก็

               คือขนาดของประชากรที่อยู่ในภาวะยากจนจ านวนมหาศาล ข้อมูลจากธนาคารโลกในปี 2011 พบว่าประชากรอินเดีย
               กว่า 200 ล้านคนอยู่ในภาวะยากจน คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 22 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งหมด นอกจากนี้ หากเทียบ

               เป็นสัดส่วนของประชากรที่ยากจนในโลกนี้ สัดส่วนที่สูงที่สุดอยู่ที่อินเดีย คือ 24 เปอร์เซ็นต์ แม้ตัวเลขความยากจนของ

               อินเดียจะยังสูงอยู่ แต่หากเปรียบเทียบกับช่วงเวลาที่ผ่านมา ถือว่าสภาวะความยากจนในอินเดียนั้นดีขึ้นมาก โดยในต้น
               ทศวรรษ 2000 นั้นอัตราความยากจนของอินเดียยังสูงกว่าในช่วงปี 2011 ถึงกว่าสองเท่า การคาดการณ์โดยธนาคารโลก

               มองว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องของอินเดียในปัจจุบันจะช่วยลดอัตราความยากจนของอินเดียต่อไปจน

               ภายในปี 2030 สัดส่วนความยากจนของประชากรอินเดียอาจลดลงต่ ากว่า 5 เปอร์เซ็นต์ (Kotayama, 2019)
                       ด้วยสภาพความยากจนที่แพร่หลาย ท าให้การจะระบุว่านโยบายหรือโครงการใดของอินเดียเป็นโครงการที่

               เจาะจงที่คนจนไม่ใช่เรื่องง่าย ด้วยเพราะนโยบายหรือโครงการจ านวนมากล้วนแต่มีส่วนช่วยเหลือประชากรที่ยากจน

               ความท้าทายอีกประการหนึ่งก็คือระบบการปกครองของอินเดียนั้นเป็นรูปแบบสหพันธรัฐที่ให้อิสระค่อนข้างสูงในการ
               ด าเนินงานกับรัฐแต่ละรัฐ สภาพดังกล่าวท าให้การด าเนินงานนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงมีความแตกต่างกันในแต่ละ

               พื้นที่รัฐ ความซับซ้อนเหล่าสร้างความท้าทายให้กับการวิเคราะห์นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนของอินเดีย

               (Srivastava, 2005)
                       ในที่นี้คณะวิจัยจะเลือกเพียงนโยบายสวัสดิการที่มีความชัดเจนว่ามีลักษณะมุ่งเจาะจงที่คนจนและจะเลือก

               นโยบายที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางในหลายรัฐ ผ่านการสนับสนุนของรัฐบาลกลาง นโยบายที่ถูกเลือกมาส ารวจนั้นเกิดขึ้น

               ในชื่อ  Centrally Sponsored Schemes (CSS) ซึ่งเป็นชุดนโยบายสวัสดิการที่รัฐบาลกลางของอินเดียให้งบประมาณ
               กระจายไปตามรัฐต่าง ๆ เพื่อให้รัฐบาลในแต่ละรัฐน าไปใช้กับสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน จ านวนโครงการที่เกิดขึ้น

               ภายใต้ CSS นั้นมีมาก โดยในช่วงปี 2011-2012 มีสูงกว่า 147 โครงการ ในที่นี้คณะวิจัยจะเลือกมาส ารวจเฉพาะ





                                                               113
   117   118   119   120   121   122   123   124   125   126   127