Page 120 - kpiebook62001
P. 120

Sumarto et al. (2001) พบว่าสัดส่วนคนที่ไม่ยากจนที่เข้ามาสู่โครงการจ้างงานนี้อาจสูงถึงกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ในขณะ

               ที่คนยากจนที่แท้จริงเข้าถึงเพียง 8 เปอร์เซ็นต์ แสดงถึงปัญหาความคลาดเคลื่อนในการเจาะจงที่สูงมาก นอกจากนี้
               สัดส่วนการจ้างงานยังกระจุกตัวอยู่เพียงแต่ในเพศชาย

                       โครงการจ้างงานอีกรูปแบบได้รับการพัฒนาต่อมาในปี 1999 โครงการในชื่อ Empowering the Regions to

               Overcome  the  Impact  of  the  Economic  Crisis  Program  ( Pemberdayaan  Daerah  dalam  Mengatasi
               Dampak Krisis Ekonomi or PDM-DKE) โครงการนี้ต่างไปจากเดิมโดยให้เน้นให้เงินทุนไปที่โครงการก่อสร้างในพื้นที่ที่

               ใช้แรงงานเป็นหลัก และให้สินเชื่อกับกลุ่มคนยากจนเพื่อการประกอบกิจการขนาดเล็ก อย่างไรก็ตาม การเข้าถึงโอกาส

               การจ้างงานสินเชื่อในโครงการนี้ยังอาศัยวิธีการเจาะจงด้วยตนเอง และไม่ต่างไปจากเดิม โครงการ PDM-DKE ก็ยัง
               ประสบปัญหาการรั่วไหลของเงินทุนจากการบริหารเงินทุนด้วยท้องถิ่น การเจาะจงยังคลาดเคลื่อนไปจากเดิม โดยใน

               กรณีของสินเชื่อเพื่อช่วยคนยากจน กรรมการในระดับท้องถิ่นกลับมักจะพิจารณาให้คนที่ไม่ได้ยากจนได้รับสินเชื่อแทน

               เนื่องจากต้องการเพิ่มโอกาสที่สินเชื่อจะได้รับการจ่ายคืน (Perdana and Maxwell, 2005)
                       โครงการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ต้องการลดปัญหาการขาดแคลนอาหารในคนยากจนผ่านการแจก

               ข้าวสารให้กับครัวเรือนที่ยากจน (Ramesh 2004)  กระบวนการเจาะจงของโครงการนี้มีลักษณะคล้ายกับการเจาะจง

               ของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐของประเทศไทย กล่าวคือใช้การเจาะจงผ่านฐานข้อมูลคนยากจนที่ได้รับการส ารวจไว้
               โดยรัฐ ฐานข้อมูลดังกล่าวได้รับการอธิบายถึงไว้ในข้างต้น ก็คือฐานข้อมูล National Family Planning Coordinating

               Board (BKKBN) โดยการแจกจ่ายข้าวสารนั้นมุ่งเป้าไปที่ครัวเรือนที่ได้รับการส ารวจแล้วว่าอยู่ในฐานะยากจน อย่างไรก็

               ตาม ภายหลังจากที่ได้มีการพัฒนาฐานข้อมูลเพิ่มเติมให้มีการแบ่งครัวเรือนเป็นระดับความยากจนมากและยากจนน้อย
               ก็ได้มีการเพิ่มครัวเรือนระดับความยากจนน้อยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเช่นกัน

                       โครงการสร้างความมั่นคงทางอาหารในระยะเริ่มแรกเกินในชื่อ OPK program โดยงานที่ศึกษาโครงการนี้พบ

               ปัญหาเช่นการขาดการกระจายข้อมูลเกี่ยวกับตัวโครงการ ปัญหาที่ส าคัญของโครงการนี้ยังเกิดในรูปแบบการเจาะจงที่
               คลาดเคลื่อน แม้ว่าจะมีการใช้ฐานข้อมูลจากภาครัฐในการคัดกรองครัวเรือนยากจน แต่กลับพบว่าโครงการสามารถ

               เข้าถึงครัวเรือนยากจนได้เพียง 52.6 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น นอกจากนี้ ครัวเรือนที่มีฐานะกลับกลายเป็นผู้ได้รับประโยชน์

               หลัก ความคลาดเคลื่อนของการเจาะจงนั้นอาจเกิดอย่างเป็นส าคัญจากการบริหารงานในระดับท้องที่ ที่เป้าหมายการ
               กระจายประโยชน์เปลี่ยนไปแปลงไปเป็นการกระจายให้คนอื่น ๆ ที่ไม่ยากจนได้เข้าถึงเช่นกัน ท าให้แต่ละครัวเรือนกลับ

               ได้รับข้าวสารในจ านวนที่น้อยลง (Olken et al., 2001)

                       ภายหลังจากช่วงเวลาเริ่มแรกที่ประสบปัญหา รัฐบาลอินโดนีเซียพยายามปรับปรุงโครงการนี้ให้มีความรัดกุม
               ยิ่งขึ้น รวมถึงมีการก าหนดปริมาณข้าวสารขั้นต่ าที่ครัวเรือนยากจนจ าเป็นต้องได้รับ โครงการ OPK ได้รับการเปลี่ยนชื่อ

               ใหม่เป็น Raksin (Rice for Poor Families) เพื่อเน้นว่าข้าวที่แจกจ่ายไปนั้นเพื่อให้คนยากจนเท่านั้น นอกจากนี้

               กระบวนการเจาะจงยังปรับเปลี่ยนไปใช้การค านวนโควตาข้าวที่จะลงไปสู่แต่ละจังหวัดก่อน โดยใช้ข้อมูลจาก BKKBN
               ก่อนจะให้รัฐบาลท้องถิ่นไปค านวนปริมาณข้าวที่จะแจกจ่ายไปในแต่ละพื้นที่ในจังหวัดของตนเองอีกทีหนึ่ง โดยในระดับ




                                                               111
   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124   125