Page 119 - kpiebook62001
P. 119
คัดกรองหมู่บ้านที่มีสถานะยากจนเพื่อเป็นพื้นที่เป้าหมายในการให้เงินสนับสนุนคนจนในหมู่บ้านเหล่านั้นอีกทีหนึ่ง
ความช่วยเหลือที่ให้จะอยู่ในรูปแบบของการให้สินเชื่อไปสู่ครัวเรือนยากจน (Alatas, 1999: 1) ในช่วงคศ. 1994-1996
โครงการ IDT ใช้เงินทุนถึงกว่า 200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อช่วยเหลือเจาะจงไปที่พื้นที่หมู่บ้านกว่า 20000 หมู่บ้าน
การเจาะจงในโครงการ IDT ผสมการเลือกพื้นที่โดยข้อมูลจากภาครัฐเข้ากับการเจาะจงผ่านกระบวนการชุมชน
ในพื้นที่ ในขั้นตอนแรก หมู่บ้านจะถูกคัดกรองลักษณะความยากจนผ่านการส ารวจโดยภาครัฐ หลังจากนั้น ขั้นตอน
ถัดไปคือการกระจายเงินทุนไปที่หมู่บ้านที่ผ่านการคัดกรอง เพื่อไปให้กรรมการที่เป็นตัวแทนองค์กรชุมชนในหมู่บ้าน
ร่วมกันคัดเลือกครัวเรือนยากจนมารับเงินทุนไปช่วยเหลือการประกอบอาชีพ ทั้งนี้กรรมการที่เป็นตัวแทนองคกรชุมชน
จะมีอิสระในก าหนดกฎเกณฑ์เพื่อเลือกว่าใครควรจะได้รับเงินทุนดังกล่าว
แม้ว่าโครงการ IDT จะได้รับการส ารวจว่าส่งผลในการช่วยยกระดับฐานะของคนยากจน รวมถึงช่วยเป็นส่วน
หนึ่งของการกระจายอ านาจในอินโดนีเซีย (Akita and Setto, 2000) แต่โครงการนี้ก็ถกตั้งข้อสังเกตถึงปัญหาหลาย
ประการ ประการแรก การใช้พื้นที่เป็นเครื่องมือในการเจาะจงท าให้คนยากจนที่อยู่ในพื้นที่นอกหมู่บ้านยากจนไม่ได้รับ
การช่วยเหลืออย่างที่ควรจะเป็น ตัวอย่างเช่น แม้ว่าคนยากจนส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่เกาะชวา แต่หมู่บ้านที่ได้รับการคัด
กรองว่ายากจนส่วนใหญ่กลับอยู่นอกพื้นที่ดังกล่าว (Sumarto et al., 1997) ปัญหานี้ส่งผลอย่างเป็นส าคัญในการท าให้
การเจาะจงนั้นคลาดเคลื่อนไปจากเป้าหมาย ประการที่สอง การอาศัยกระบวนการทางชุมชนในการคัดเลือกคนยากจน
ในพื้นที่แม้จะโยงกับการกระจายอ านาจ แต่ก็ยังมาพร้อมปัญหาที่กรรมการอาจตั้งเป้าหมายการคัดเลือกที่คลาดเคลื่อน
ไปจากโครงการ เช่น ให้เงินทุนไปกับกิจกรรมที่ไม่ได้มุ่งเน้นการลดความยากจน หรือแม้กระทั่งปัญหาการรั่วไหลของเงิน
ช่วยเหลือ โดยกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ของเงินทุนในโครงการนี้รั่วไหล (Perdana and Maxwell, 2005)
โครงการจ้างงาน เกิดขึ้นในหลายลักษณะทั่วอินโดนีเซียเพื่อสร้างงานใหม่รองรับแรงงานที่ถูกปลดจากวิกฤต
เศรษฐกิจ โครงการเหล่านี้เกิดขึ้นส่วนใหญ่ในระดับท้องถิ่น ทั้งนี้การจ้างงานนั้นจะเกิดขึ้นผ่านการกระจายเงินไปลงทุน
ในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานหรือระบบสาธารณูปโภคขนาดเล็กในพื้นที่ การเลือกโครงการขนาดเล็กในระดับท้องถิ่น
เป็นฐานการจ้างงานก็เพื่อให้แรงงานยากจนมีโอกาสเข้าถึงได้ง่าย การเจาะจงของโครงการจ้างงานนั้นเป็นลักษณะการ
เจาะจงด้วยตนเอง ผ่านการก าหนดค่าจ้างให้ต่ ากว่าในตลาดเพื่อให้งานที่เกิดขึ้นดึงดูดเฉพาะคนจน
อย่างไรก็ตาม โครงการจ้างงานเกิดปัญหาขึ้นทั่วไป ปัญหาหลักที่พบนั้นมีหลายประการ ประการแรก เงินทุนที่
ถูกกระจายไปในระดับท้องถิ่นนั้นมักจะถูกใช้ไปกับการลงทุนในวัสดุและอุปกรณ์เป็นสัดส่วนที่สูง เหลือเป็นเงินทุนในการ
สร้างงานน้อยลง ท าให้เป้าหมายโครงการในการช่วยเหลือคนยากจนคลาดเคลื่อน นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่าเจ้าหน้าที่
ในระดับท้องถิ่นนั้นขาดประสบการณ์ในการจัดการโครงการ ไม่ได้มีความรับผิดชอบในการดูแลการด าเนินงานจ้างงาน
ใช้เงินในการลงทุนในทิศทางที่ไม่ตอบโจทย์ที่คนในพื้นที่ต้องการ และโครงการนี้ยังมักจะถูกกล่าวหาถึงปัญหาการคอร์
รัปชัน
ปัญหาประการที่สองโยงอยู่กับการใช้ค่าจ้างที่ต่ าเป็นเครื่องมือดึงดูดคนยากจน โดยเฉพาะกลุ่มที่ขาดทักษะและ
โอกาสในการหางาน แต่กระนั้นการด าเนินงานจริงกับพบว่าคนยากจนไม่ได้รับการจ้างงานอย่างแท้จริง เนื่องจากค่าจ้าง
ที่ก าหนดนั้นยังไม่ได้ต่ าพอ ท าให้คนที่ไม่ยากจนมุ่งเข้าสู่โครงการจนกีดกันคนยากจนที่แท้จริงออกไป การศึกษาโดย
110