Page 118 - kpiebook62001
P. 118
ได้เพิ่มสูงขึ้นกว่าสองเท่าเป็น 23 เปอร์เซ็นต์ในปี 1999 Sumarto และ Suryahadi (2001) ได้ตั้งข้อสังเกตว่าสภาพ
ความยากจนที่เพิ่มขึ้นนี้มาพร้อมการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของคนที่ต้องเผชิญปัญหาความยากจนแบบเรื้อรัง (chronic
poverty) และคนอีกจ านวนมากที่เผชิญความเสี่ยงจะตกสู่สภาพความยากจน
ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ 1997 ได้สร้างความตื่นตัวต่อปัญหาความยากจนในสาธารณะชน และกลุ่มผู้ก าหนด
นโยบายของอินโดนีเซีย มีความกังวลว่าวิฤตเศรษฐกิจจะส่งผลลุกลามไปสู่ความวุ่นวายในสังคม ความกังวลดังกล่าวและ
การช่วยผลักดันจากองค์กรระหว่างประเทศเช่น ธนาคารโลก ท าให้อินโดนีเซียเริ่มต้นนโยบายมุ่งเป้าในการแก้ไขปัญหา
ความยากจน อินโดนีเซียเริ่มนโยบายแบบเจาะจงที่คนจนหลายโครงการภายใต้ร่วมใหญ่ของโครงการ Social Safety
Net Program นโยบายที่ถูกเลือกมาส ารวจ ณ ที่นี้เกือบทั้งหมดก็เป็นนโยบายภายใต้โครงการนี้
(1) กระบวนการเจาะจง
ชุดนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนที่เกิดขึ้นในบริบทหลังวิกฤตเศรษฐกิจ 1997 นั้นประกอบไปด้วย
นโยบายสวัสดิการในรูปแบบการจ้างงาน การสร้างความมั่นคงทางอาหาร รวมถึงนโยบายสวัสดิการด้านการศึกษาและ
สาธารณสุข กระบวนการเจาะจงที่เกิดขึ้นในนโยบายเหล่านี้ผสมผสานการเจาะจงตามพื้นที่ หรือการเจาะจงด้วยตนเอง
เข้ากับการใช้ข้อมูลความยากจนที่รวบรวมโดยรัฐเข้าก ากับ
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลความยากจนส่วนใหญ่ที่เก็บโดยรัฐบาลกลางของอินโดนีเซียนั้นไม่ได้มีความละเอียดพอที่จะ
ใช้ระบุครัวเรือนหรือแม้กระทั่งหมู่บ้านที่ยากจน นอกจากนี้อินโดนีเซียยังเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ และมีความ
หลากหลายของพื้นที่ต่าง ๆ สูง ท าให้ข้อมูลความยากจนที่เก็บโดยรัฐบาลกลางจ าเป็นจะต้องได้รับการพัฒนาเพิ่มเติมใน
ระดับท้องถิ่นอีกต่อหนึ่ง
ชุดข้อมูลที่ส าคัญในกระบวนการเจาะจงของอินโดนีเซียในช่วงหลังวิกฤติเศรษฐกิจคือข้อมูลการส ารวจจาก
National Family Planning Coordinating Board (BKKBN) ข้อมูลชุดนี้เป็นชุดข้อมูลที่ครอบคลุมจ านวนครัวเรือนใน
ประเทศมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ข้อมูลชุดนี้ยังไม่ได้มีความละเอียดสูง ทั้งยังเก็บโดยอาสาสมัครที่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญ
จึงเน้นเพียงค าถามที่ส ารวจแง่มุมหลักของครัวเรือนเช่น มีอาหารเพียงพอหรือไม่ สามารถเข้าถึงเครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย
ที่ไม่ผุพัง และยารักษาโรค ได้อย่างเพียงพอหรือไม่ ข้อมูล BKKBN ได้รับการปรับปรุงในเวลาต่อมาเพื่อให้มีความ
ละเอียดเพิ่มขึ้น และยังมีการแบ่งระดับความยากจนออกเป็นระดับมากและน้อย (Perdana and Maxwell, 2005)
ข้อมูลอีกชุดถูกใช้กับกระบวนการเจาะจงผ่านพื้นที่ โดยใช้ประกอบโครงการที่มุ่งความช่วยเหลือไปที่หมู่บ้านที่
ยากจน ข้อมูลชุดนี้เก็บโดยรัฐบาลท้องถิ่นผ่านการให้คะแนนความยากจนกับหมู่บ้านต่าง ๆ ไปตามลักษณะเช่น คุณภาพ
และการมีอยู่ของโครงสร้างพื้นฐาน จ านวนบ้าน และจ านวนประชากร ทั้งนี้แต่ละหมู่บ้านจะถูกจัดสถานะความยากจน
ด้วยการเปรียบเทียบกับค่าเฉลี่ยคะแนนความยากจนในระดับจังหวัด
(2) นโยบายสวัสดิแบบเจาะจงที่คนจนของอินโดนีเซีย
โครงการช่วยเหลือหมู่บ้านยากจน หรือเรียกในชื่อภาษาอินโดนีเซียว่า Inpres Desa Tertinggal (IDT) เป็น
โครงการแก้ปัญหาความยากจนแบบเจาะจงที่เริ่มมาตั้งแต่ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ โครงการนี้เริ่มในปีคศ. 1994 โดยใช้การ
109