Page 121 - kpiebook62001
P. 121
ย่อยที่สุดคือในระดับหมู่บ้านนั้น ตัวแทนภาครัฐ ผู้น าชุมชน และตัวแทนคนในชุมชน จะประชุมร่วมกันเพื่อคัดเลือก
ครัวเรือนที่จะได้รับการช่วยเหลือ โดยใช้ข้อมูล BKKBN ประกอบการคัดเลือก
แม้จะปรับเปลี่ยนรูปแบบการเจาะจงมาใช้กระบวนการชุมชนประกอบการใช้ข้อมูล แต่กระนั้นความ
คลาดเคลื่อนของโครงการนี้ยังไม่ได้ลดลงไปจากเดิมมาก ยังมีครัวเรือนที่ไม่ได้ยากจนที่ได้รับประโยชน์ และจ านวน
ครัวเรือนที่ได้รับการคัดเลือกมาเป็นผู้ได้รับประโยชน์ยังมากกว่าจ านวนเป้าหมายถึงกว่าสองเท่า สภาพปัญหาที่พบใน
ระดับหมู่บ้านนั้นก็คือเมื่อครัวเรือนที่ต้องการเป็นส่วนหนึ่งของโครงการมีจ านวนมาก การคัดเลือกจึงปรับไปใช้วิธีให้
ประโยชน์กับครัวเรือนที่แสดงความต้องการก่อน ท าให้คนยากจนจริงถูกกีดกันออกไปได้ง่าย (Perdana and Maxwell,
2005)
นอกจากนี้ ยังมักจะพบว่ากรรมการที่มีบทบาทในการจัดสรรประโยชน์มักจะถูกกดดันจากสมาชิกชุมชนอื่น ๆ
ในการท าหน้าที่ ปัญหาที่พบในโครงการ Raksin แสดงให้เห็นความท้าทายที่โยงอยู่กับการใช้กระบวนการชุมชนคัดเลือก
ผู้ได้รับสวัสดิการ
โครงการด้านการศึกษาและสาธารณสุข ในช่วงปีคศ.1998 ถึง 2003 รัฐบาลอินโดนีเซียได้ให้เงินทุนกับ
โรงเรียนเพื่อช่วยลดปัญหาผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจที่จะกระจายไปสู่ครอบครัวของนักเรียน ซึ่งอาจส่งผลให้
นักเรียนต้องออกจากโรงเรียนได้ นอกจากนี้เงินทุนดังกล่าวอีกส่วนหนึ่งยังกระจายไปสู่โรงเรียนขนาดเล็กเพื่อให้ช่วย
สนับสนุนการท างานของโรงเรียนในช่วงที่ต้องเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจ
ส่วนประกอบส าคัญของโครงการอุดหนุนด้านการศึกษาของอินโดนีเซียคือการให้ทุนกับนักเรียนยากจนเพื่อให้
อยู่ในระบบการศึกษาต่อไป ทุนการศึกษานี้จะให้โดยตรงกับนักเรียนที่มีฐานะยากจนที่ก าลังเผชิญปัญหาทางเศรษฐกิจ
โดยไม่ได้มีเงื่อนไขก าหนดว่าเงินทุนดังกล่าวจะต้องถูกใช้อย่างไร การคัดกรองนักเรียนเพื่อรับทุนดังกล่าวท าโดย
กรรมการที่มาจากรัฐบาลท้องถิ่นและโรงเรียน แต่การจ่ายทุนการศึกษานั้นจะจ่ายให้กับนักเรียนโดยตรง การพิจารณา
ฐานะนักเรียนจะเน้นที่สภาพความยากจน ขนาดครัวเรือน และฐานะของครัวเรือนตามการส ารวจ จาก BKKBN ทั้งนี้แต่
ละโรงเรียนสามารถคัดเลือกนักเรียนยากจนในจ านวนเท่าใดก็ได้ ไม่ได้จ าเป็นต้องถูกจ ากัดโควตา
ผลการศึกษาของ Sumarto et al. (2001) พบกว่าทุนการศึกษาที่กระจายไปนั้นยังไปถึงนักเรียนในสัดส่วนที่
น้อยมาก คือเพียง 4-8 เปอร์เซ็นต์ น้อยกว่าจ านวนสัดส่วนนักเรียนยากจนในโรงเรียนมาก นอกจากนี้นักเรียนจ านวน
มากที่ได้รับทุนยังไม่ได้มาจากครัวเรือนที่ยากจน ความคลาดเคลื่อนยังเกิดขึ้นตั้งแต่ขั้นตอนการคัดเลือกโรงเรียน โดยมี
โรงเรียนนักเรียนส่วนใหญ่ยากจนหลุดจากการได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ในขณะที่โรงเรียนที่นักเรียนที่มีฐานะดีกว่า
กลับได้รับเลือก (Baines 2005) เมื่อเป็นเช่นนี้ นักเรียนที่ได้รับทุนจากโรงเรียนที่ฐานะโดยเฉลี่ยดีกว่านั้นก็อาจไม่ได้
ยากจนเมื่อเทียบกับนักเรียนทั้งหมด
ส าหรับโครงการส าคัญด้านสาธารณสุข คือโครงการบัตรสุขภาพ โครงการนี้ท าการคัดกรองครัวเรือนที่มีฐานะ
ยากจนเพื่อให้ได้รับบัตรสุขภาพในการรับการศึกษาฟรีผ่านสถานพยาบาลของรัฐ การเจาะจงของโครงการนี้ผสมการ
เจาะจงผ่านพื้นที่กับการเจาะจงด้วยกระบวนการชุมชน ในขั้นตอนแรก บัตรสุขภาพจะถูกกระจายไปตามพื้นที่การ
บริหารในระดับท้องถิ่น โดยจ านวนบัตรจะแปรไปตามอัตราความยากจนตามที่ค านวนจากฐานข้อมูล BKKBN หลังจาก
112