Page 123 - kpiebook62001
P. 123
โครงการหลัก โดยจะเน้นส ารวจโครงการที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานคนยากจน โครงการสร้างที่อยู่อาศัย และโครงการ
บ านาญคนชรา
(1) กระบวนการเจาะจง
กระบวนการเจาะจงคนยากจนที่เกิดขึ้นในนโยบายสวัสดิการส่วนใหญ่ของอินเดียนั้นโยงอยู่กับฐานข้อมูลที่
เกิดขึ้นในโครงการ Public Distribution System (PDS) ซึ่งเป็นโครงการอุดหนุนอาหารให้คนยากจน โครงการ PDS
ในช่วงแรกเคยอยู่ในลักษณะของการเจาะจงด้วยตนเอง ด้วยการสนับสนุนให้มีร้านค้าภายใต้โครงการที่ขายอาหารใน
ราคาถูก อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมาโครงการ PDS ได้รับการปรับปรุงให้เป็น Targeted PDS ในปีคศ.1997 โดยมีการ
น ากระบวนคัดกรองคนจนผ่านการสร้างฐานข้อมูลมาใช้ ฐานข้อมูลจาก Targeted PDS กลายเป็นข้อมูลส าคัญในการ
จัดสรรงบประมาณส าหรับนโยบายสวัสดิการอื่น ๆ ไม่จ ากัดเพียงการอุดหนุนอาหารเท่านั้น
Targeted PDS ท าการส ารวจคนยากจนโดยใช้เกณฑ์คือเส้นความยากจนด้านรายได้ที่ก าหนดโดยรัฐบาลกลาง
อินเดีย เส้นดังกล่าวมีความแตกต่างกันไปตามรัฐต่าง ๆ นอกจากการใช้เกณฑ์ด้านรายได้เป็นเกณฑ์หลักแล้วยังมีการ
ส ารวจสภาพเช่นอาชีพ สภาพที่อยู่อาศัย การครอบครองที่ดิน การครอบครองปศุสัตว์ และการครอบครอบสินทรัพย์
อื่น ๆ เพื่อมาประกอบการคัดกรองคนยากจน รัฐบาลในรัฐต่าง ๆ เป็นผู้ส ารวจและสร้างฐานข้อมูลของรัฐตนเอง
อย่างไรก็ตาม การส ารวจข้อมูลในโครงการ Targeted PDS เกิดขึ้นอย่างล่าช้า แม้จะเริ่มต้นเก็บข้อมูลในปี
1997 แต่ผ่านมาถึงสี่ปีในปี 2000 รัฐที่ท าการเก็บข้อมูลเสร็จสิ้นยังมีเพียง 18 จาก 31 รัฐ (CAG, 2000) โดยรัฐที่ยัง
ด าเนินการไม่เสร็จสิ้นก็ยังไม่สามารถออกบัตรประจ าตัวให้คนยากจนได้ นอกจากนี้การส ารวจที่เกิดขึ้นยังมีปัญหา
คลาดเคลื่อน มีคนยากจนที่หลุดการส ารวจเป็นสัดส่วนสูง การอาศัยเส้นความยากจนด้านรายได้ที่ถูกใช้เป็นเกณฑ์หลัก
นั้นถูกวิพากษ์ว่าไม่เหมาะสมในการคัดกรองคนยากจน เพราะส่งผลให้คนจนที่มีรายได้ผันผวนถูกคัดกรองออกจาก
เป้าหมายไป
(2) นโยบายสวัสดิแบบเจาะจงที่คนจนของอินเดีย
โครงการส่งเสริมการจ้างงาน เป็นนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนที่ได้รับการด าเนินการมาอย่าง
ยาวนานที่สุด โครงการในลักษณะนี้ในอินเดียมีหลากหลายรูปแบบและพัฒนามาต่อเนื่องกัน เริ่มแรกจาก The
Employment Guarantee Scheme (EGS) ที่ได้รับการด าเนินการอยู่ในระดับรัฐมาตั้งแต่ปี 1965 จนกลายมาเป็น
ตัวอย่างของโครงการในลักษณะเดียวกันที่เหลือ EGS มุ่งสร้างการจ้างงานด้วยการสร้างงานที่ไม่ต้องใช้ทักษะ และให้
ค่าจ้างระดับที่ต่ าต่อชิ้นงานเพื่อให้เป็นกลไกการเจาะจงด้วยตนเอง การจ้างงานผ่าน EGS เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด
ทศวรรษ 1980 ถึง 1990 แสดงถึงบทบาทส าคัญของโครงการดังกล่าว อย่างไรก็ตาม โครงการ EGS เริ่มประสบปัญหา
มาตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990 เมื่อค่าจ้างในโครงการได้รับการเปลี่ยนให้สูงขึ้น ส่งผลให้จ านวนการจ้างงานต้องถูก
กระจายออกไปตามต้องการที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้โครงการยังประสบปัญหาการคอร์รัปชัน เช่น การติดสินบนเจ้าหน้าที่
โครงการ ปัญหาเหล่านี้ส่งผลอย่างเป็นส าคัญให้การเจาะจงของโครงการ EGS คลาดเคลื่อน (Srivastava, 2005; PDI,
2000)
114