Page 29 - kpiebook62001
P. 29

ระบบสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน (poverty targeting) อาจถูกเรียกได้อีกหลายแบบแบ่งไปตามคุณลักษณะ

               อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สวัสดิการแบบเลือกให้เฉพาะกลุ่ม (selective welfare) หรือ สวัสดิการที่ให้ตามฐานะ (mean-
               tested benefits) ไม่ว่าจะเรียกอย่างไรก็ตาม คุณลักษณะที่ส าคัญของสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนก็คือการมุ่งเป้าของ

               สวัสดิการไปเฉพาะกลุ่มที่มีสภาพเศรษฐกิจด้อยกว่าคนกลุ่มอื่น ๆ สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนมักจะถูกจัดวางไว้ให้

               แตกต่างไปจากสวัสดิการแบบถ้วนหน้า ซึ่งมีคุณลักษณะส าคัญอยู่ที่การให้สวัสดิการจะไม่เลือกให้ไปตามฐานะทาง
               เศรษฐกิจ แต่มักจะเลือกให้บนฐานของการเป็นพลเมือง (citizenship) (ดู Gugushvili and Hirsch, 2014) นอกจากนี้

               ยังมีสวัสดิการแบบอื่น ๆ ที่ไม่จัดอยู่ในสวัสดิการทั้งสองแบบที่กล่าวมาแล้ว คือสวัสดิการที่ให้จากการร่วมจ่าย

               (contribution-based) ซึ่งผู้รับสวัสดิการจะต้องร่วมจ่ายเงินสนับสนุนให้กับสวัสดิการจึงจะมีสิทธิได้รับประโยชน์
               อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างหลักที่มักจะถูกเน้นถึงในการศึกษาวิเคราะห์นโยบายสวัสดิการมักจะอยู่ที่การเปรียบเทียบ

               สวัสดิการแบบถ้วนหน้ากับแบบเจาะจง เพราะเป็นสวัสดิการสองรูปแบบที่มาจากฐานความคิดที่ต่างกันชัดเจน ซึ่งความ

               แตกต่างนี้ก็จะเป็นฐานการวิเคราะห์หลักของรายงานฉบับนี้เช่นกัน
                       ประเด็นส าคัญที่ควรกล่าวถึงก่อนจะอธิบายรายละเอียดของสวัสดิการแต่ละรูปแบบก็คือ ระบบสวัสดิการที่

               เกิดขึ้นในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกก็มักจะผสมผสานสวัสดิการหลายรูปแบบเข้าด้วยกัน ไม่มีประเทศไหนที่ใช้นโยบาย

               สวัสดิการทั้งหมดเป็นสวัสดิการแบบถ้วนหน้า และก็ไม่มีประเทศไหนที่ใช้สวัสดิการทั้งหมดเป็นสวัสดิการแบบเจาะจง
               นอกจากนี้ แม้กระทั่งการจัดแบ่งนโยบายสวัสดิการไปตามรูปแบบต่าง ๆ ในความเป็นจริงก็อาจไม่ใช้เรื่องที่ท าได้ง่ายนัก

               เพราะอาจมีการผสมผสานสวัสดิการมากกว่าหนึ่งรูปแบบเข้าด้วยกัน ตัวอย่างเช่น นโยบายที่เหมือนจะให้กับประชาชน

               ในแบบถ้วนหน้า ก็อาจจะมีการแบ่งระดับของสวัสดิการที่ให้ไปตามฐานะอยู่บ้าง
                       เมื่อเป็นเช่นนี้ การวิเคราะห์ถึงระบบสวัสดิการบนฐานของรูปแบบต่าง ๆ นั้น จึงมักจะไม่ได้หวังจะให้

               ส่วนประกอบของระบบทั้งหมดต้องอยู่ในรูปแบบใดแบบหนึ่ง และไม่ได้มุ่งไปที่การจัดความหมายของนโยบายแต่ละส่วน

               ว่าเป็นรูปแบบไหน การวิเคราะห์มักจะมุ่งไปที่การมองภาพรวมของระบบสวัสดิการว่าสะท้อนการให้น้ าหนักกับ
               สวัสดิการในรูปแบบใดมากกว่ากัน เพราะน้ าหนักที่ให้นี้ก็มักจะสะท้อนเป้าหมายเบื้องหลังระบบสวัสดิการไปด้วยในเวลา

               เดียวกัน และยังช่วยอธิบายได้ถึงคุณลักษณะของระบบสวัสดิการโดยรวมที่ส่งผลกับโอกาสในชีวิตของประชาชนใน

               ประเทศ (Esping-Andersen and Myles, n.d.)
                       ส าหรับสวัสดิการแบบแรกที่จะกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ สวัสดิการแบบถ้วนหน้า (universal welfare) ซึ่งมี

               ลักษณะเป็นบริการหรือการให้เงินอุดหนุนที่มีให้กับพลเมืองหรือแม้กระทั่งผู้อาศัยอยู่ในประเทศ ตัวอย่างเช่น การ

               ให้บริการทางการศึกษาขั้นพื้นฐานของรัฐ ผู้ได้รับสวัสดิการเช่นนี้ไม่จ าเป็นจะต้องผ่านเกณฑ์ด้านฐานะแต่อย่างไร
               อย่างไรก็ตาม สวัสดิการที่ให้แบบถ้วนหน้าก็อาจจะเลือกให้ไปเฉพาะกลุ่มประชากรได้ เช่น อาจเลือกให้เฉพาะประชากร

               อายุน้อย(เด็ก)หรืออายุมาก(คนชรา)โดยผู้ได้รับไม่จ าเป็นต้องมีฐานะยากจน ตัวอย่างเช่น การให้เงินอุดหนุนเด็กเล็กหรือ

               คนชราอย่างถ้วนหน้า ส าหรับแนวคิดที่อยู่เบื้องหลังการให้สวัสดิการแบบถ้วนหน้า คือแนวคิดเรื่องการลดความเสี่ยงทาง
               สังคม (social risks) ให้กับประชาชนทุกคน โดยมองการได้รับสิทธิดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของการเป็นพลเมือง แนวคิดใน




                                                               20
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34