Page 33 - kpiebook62001
P. 33

ที่มีในหมู่ประชากร  ประเทศที่เน้นสวัสดิการแบบถ้วนหน้าเช่นประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียนั้นก็มักจะมาพร้อม ๆ กับ

               กฎเกณฑ์แบบเดียวในการดูแลและก ากับพลเมือง จนอาจกล่าวได้ว่าวิธีการดังกล่าวเป็นการน าเอามาตรฐานเดียวที่
               ก าหนดโดยประชากรส่วนใหญ่มาใช้กับประชาชนส่วนที่เหลือที่อาจเป็นชนกลุ่มน้อย (Mkadawire, 2005) ส าหรับ

               ประเทศก าลังพัฒนานั้น การใช้มาตรฐานเดียวกันกับประชากรทั้งหมดก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าละเลยความเป็นไปได้ที่

               จะต้องมีนโยบายบางประการไว้ให้กับประชากรกลุ่มที่เสียเปรียบ (affirmative actions) เพื่อให้พวกเขาได้มีโอกาส
               ทัดเทียมคนกลุ่มอื่น ๆ ได้


                       (4) การเปลี่ยนแปลงในแนวคิดเรื่องการพัฒนา

                       สภาพสุดท้ายที่ท าให้สวัสดิการแบบเจาะจงได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาก็คือสภาพของ

               แนวคิดด้านการพัฒนาที่เปลี่ยนไป โดยหันมาเน้นด้านกระบวนการลดความยากจนเป็นเป้าหมายหลัก การเปลี่ยนแปลง
               ดังกล่าวเชื่อมโยงกับบริบทด้านการพัฒนาที่องค์กรพัฒนาระหว่างประเทศปรับบทบาทของตนเองตั้งแต่การน าชุด

               นโยบายปรับโครงสร้าง (social adjustment) มาใช้กับประเทศก าลังพัฒนาที่พบกับวิกฤติเศรษฐกิจ (Dutrey, 2007)

               แนวทางการปรับโครงสร้างซึ่งเป็นผลผลิตส าคัญของแนวคิดเสรีนิยมใหม่ลดบทบาทภาครัฐ เน้นความส าคัญของการคลัง
               ที่มีเสถียรภาพ สร้างช่องโหว่ส าคัญก็คือการขาดกลไกรองรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับคนยากจน องค์กรพัฒนาระหว่าง

               ประเทศจึงชูเอานโยบายการลดความยากจนขึ้นมาเพื่ออุดช่องโหว่ดังกล่าว การให้การช่วยเหลือประเทศก าลังพัฒนา

               ที่มาพร้อม ๆ กับการปรับโครงสร้างจึงเน้นหนักไปที่นโยบายช่วยเหลือแบบเจาะจงไปที่คนจน และในบริบทที่บทบาท
               ของรัฐไม่เป็นที่ต้องการ องค์กรประชาสังคมก็กลายมาเป็นองค์กรพันธมิตรหลักในกระบวนการพัฒนาที่เน้นการ

               ช่วยเหลือคนจน

                       ในบริบทที่ความหมายของการพัฒนาแคบลงและกลายเป็นกระบวนการที่โยงอยู่เป็นส าคัญกับการลดความ
               ยากจน ที่ทางของนโยบายสวัสดิการในประเทศก าลังพัฒนาก็แคบลงไปด้วย ในขณะที่นโยบายสวัสดิการในประเทศ

               พัฒนาแล้วอาจยึดโยงไปกับกระบวนการและเป้าหมายที่กว้างขวางกว่า เช่น กระบวนการในการสร้างชาติ การสร้าง

               ความเป็นพลเมือง และเป้าหมายเช่นการลดความเหลื่อมล้ า การสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างสมาชิกสังคม
               รวมถึงการสร้างเสริมทุนมนุษย์ให้กับพลเมือง บริบทที่การพัฒนาหันมาเน้นเฉพาะเรื่องการแก้ปัญหาความยากจนเป็นท า

               ให้เป้าหมายเหล่านี้ถูกละเลย มากไปกว่านั้น บางเป้าหมายยังอาจจะถูกมองว่าขัดแย้งกับการท าให้เศรษฐกิจเติบโตได้

               อย่างมีประสิทธิภาพ บริบทเช่นนี้ย่อมส่งผลต่อมาถึงที่ทางของนโยบายสวัสดิการ โดยเฉพาะในประเทศก าลังพัฒนา ท า
               ให้ความส าคัญของนโยบายสวัสดิการนั้นแคบลงกว่าเดิม และมักจะถูกมองว่ามีหน้าที่หลักคือการเป็นส่วนหนึ่งของ

               กระบวนการแก้ปัญหาความยากจน



               2.2 ลักษณะส้าคัญของสวัสดิการแบบเจาะจง


                       การออกแบบนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนนั้นไม่ใช้เรื่องง่าย นโยบายดังกล่าวมีรูปแบบที่หลากหลาย

               และแง่มุมที่ซับซ้อน จนอาจกล่าวได้ว่าผู้ด าเนินนโยบายมักจะไม่สามารถออกแบบนโยบายแบบเจาะจงได้อย่างสมบูรณ์

                                                               24
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38