Page 32 - kpiebook62001
P. 32

(2) แนวคิดเรื่องประสิทธิภาพและต้นทุน


                       อีกปัจจัยที่ท าให้สวัสดิการแบบเจาะจงได้รับความนิยมมากขึ้นก็คือสภาพความตึงตัวทางการคลังที่เกิดขึ้นใน
               ประเทศยุโรปในช่วงปลายคริสตทศวรรษที่ 1970s สภาพดังกล่าวน ามาซึ่งการค านึงถึงการลดรายจ่ายภาครัฐเพื่อลด

               ปัญหาการคลัง จนกระทั่งภาวการณ์คลังกลายเป็นปัจจัยที่ถูกให้น้ าหนักมากกว่าเรื่องอื่น ๆ ในการด าเนินนโยบาย

               สวัสดิการ (Mkadawire, 2005) การเน้นความส าคัญของปัญหาการคลังยังเกิดขึ้นในภาวะที่ประเทศก าลังพัฒนาจ านวน
               มากประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มละตินอเมริกา การแก้ปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับ

               ประเทศก าลังพัฒนามักจะเน้นการรัดเข็มขัดทางการคลังเสียก่อน และเมื่อแนวทางที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาทางคลังเป็น

               แนวทางหลัก ความสนใจเกี่ยวกับการด าเนินนโยบายสวัสดิการก็มักจะลงเอยกับการมองไปที่ประสิทธิภาพและต้นทุน
               เป็นหลัก

                       เมื่อปัญหาทางการคลังถูกจัดให้เป็นข้อจ ากัดที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ การชูมิติเรื่องประสิทธิภาพและต้นทุนย่อมน ามา

               ซึ่งการหันเหมาสู่นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน ด้วยเพราะหากเทียบกันในมิติเหล่านี้แล้วการเจาะจงที่คนจน
               ย่อมตอบเป้าหมายได้ดีกว่านโยบายสวัสดิการแบบถ้วนหน้า ตัวอย่างเช่น เมื่อมีทรัพยากรการคลังอยู่แต่เพียงจ ากัด การ

               ให้ทรัพยากรนั้น ๆ ไปที่คนที่มีความจ าเป็นต้องได้รับมากกว่าก็ย่อมถูกมองเป็นเรื่องที่เหมาะสมในหมู่ผู้ก าหนดนโยบาย

               (Besley and Kanbur, 1990)
                       อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสนใจว่าภายใต้มุมมองเช่นนี้ ปัญหาทางการคลังนั้นมักจะถูกชูขึ้นมาเป็นความจ ากัดที่

               หลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ การแก้ปัญหาทางการคลังผ่านการเพิ่มภาษีนั้นกลับกลายเป็นเรื่องที่แทบไม่ได้ถูกกล่าวถึงมาก

               นัก อาจด้วยเพราะมุมมองแบบเสรีนิยมนั้นมองถึงปัญหาของการเก็บภาษีในการบิดเบือนกลไกตลาดหรืออาจเพราะมี
               ความเกรงกลัวว่าการเก็บภาษีมากขึ้นอาจท าให้เกิดการเคลื่อนย้ายของทุนและทรัพย์สินออกจากประเทศ


                       (3) ปัญหาของระบบสวัสดิการแบบถ้วนหน้า

                       อีกสภาพส าคัญที่กระทบการด าเนินนโยบายสวัสดิการทั่วโลกก็คือจากคริสตทศวรรษที่ 1980s ได้เริ่มมีการ

               กล่าวถึงสภาพที่เรียกว่า "วิกฤตของสวัสดิการถ้วนหน้า" การกล่าวถึงสภาพนี้ถูกผลักดันด้วยปัจจัยหลายประการ ปัจจัย

               เช่นภาวะเศรษฐกิจตกต่ าและภาวะการคลังที่ตึงตัวที่เกิดขึ้นในทั้งประเทศพัฒนาแล้วและประเทศก าลังพัฒนาเป็นปัจจัย
               ส าคัญที่ขับเคลื่อนมุมมองนี้ แต่ก็ยังมีปัจจัยอื่น ๆ อีกเช่น การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรไปสู่สังคมสูงอายุใน

               ประเทศพัฒนาแล้ว และความล้มเหลวในการลดอัตราการว่างงานในหลากหลายประเทศ สภาพทั้งหมดสร้างค าถามที่มี

               น้ าหนักว่าการจะคงสวัสดิการถ้วนหน้าไว้เป็นทางเลือกที่เป็นไปได้จริงหรือ ค าถามดังกล่าวน ามาซึ่งการสนับสนุนทาง
               การเมืองที่อ่อนแรงลงของนโยบายสวัสดิการแบบถ้วนหน้า จนไปสู่การปรับเปลี่ยนไปสู่นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่

               คนจนมากขึ้น

                       นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงปัญหาอื่นของนโยบายสวัสดิการแบบถ้วนหน้า โดยปัญหาที่ได้รับความสนใจก็คือ
               สวัสดิการแบบถ้วนหน้านั้นเน้นความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของพลเมืองมากเกินไปจนละเลยความแตกต่างหลากหลาย

                                                               23
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37