Page 34 - kpiebook62001
P. 34

แบบ ส่วนนี้ของรายงานวิจัยจะอธิบายในรายละเอียดถึงต่าง ๆ ที่ส าคัญของนโยบายแบบเจาะจงที่คนจน โดยจะเน้นเล่า

               ก่อนถึงวิธีคิดเรื่องประโยชน์ที่คาดจากการเจาะจง รูปแบบการเจาะจงแบบต่าง ๆ และจะอธิบายถึงการก าหนดเงื่อนไข
               (conditions) ไปพร้อมกับการรับสวัสดิการซึ่งเป็นลักษณะส าคัญของนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนในทุกวันนี้


                   2.2.1 ประโยชน์ที่คาดจากการเจาะจง

                       ประโยชน์ส าคัญที่ผู้ด าเนินนโยบายคาดหวังว่าจะได้รับจากการเจาะจงทรัพยากรไปเฉพาะที่คนจนก็คือการลด

               ต้นทุนของสวัสดิการ โดยเฉพาะในกรณีที่มีทรัพยากรในการช่วยเหลืออยู่อย่างจ ากัด ในกรณีนี้อาจเทียบเคียงได้ว่าหากมี
               การให้สวัสดิการกับคนทั้งประเทศจ านวน 50 ล้านคนด้วยต้นทุน 100 ล้านบาท การน าเอาเงิน 100 ล้านดังกล่าวไป

               ช่วยเหลือเพียงกลุ่มคนที่ฐานะด้อยกว่าคนอื่น ๆ ในสัดส่วน 40 เปอร์เซ็นต์ของคนทั้งหมดก็จะท าให้มีเงินสวัสดิการ

               ส าหรับช่วยเหลือต่อคนมากกว่าสองเท่า กล่าวคือเงิน 100 ล้านบาทจะถูกน ามาใช้กับคนเพียง 20 ล้านคนเท่านั้น ทั้งนี้
               ในอีกทางหนึ่งการเจาะจงที่คนจนยังอาจช่วยให้ผู้ด าเนินนโยบายสามารถลดทรัพยากรทั้งหมดที่จะใช้ในการด าเนิน

               นโยบายได้

                       อย่างไรก็ตาม สิ่งที่จ าเป็นจะต้องน ามาคิดประกอบไปด้วยเมื่อมีการกล่าวถึงประโยชน์ของการเจาะจงก็คือ
               ต้นทุน การบริหารจัดการนโยบายการเจาะจงเป็นเรื่องที่มีต้นทุนอยู่สูง การหากลุ่มเป้าหมาย การพิสูจน์ว่าพวกเขาอยู่ใน

               ฐานะที่ควรได้รับสวัสดิการ รวมไปถึงการกระจายทรัพยากรไปสู่พวกเขา ล้วนแต่เป็นแง่มุมที่สร้างต้นทุนให้เพิ่มขึ้น และ

               หากน าเอาต้นทุนดังกล่าวเข้ามาหักลบกับทรัพยากรที่นโยบายต้องการกระจายไปสู่คนจน ก็อาจพบได้ว่าทรัพยากร
               ดังกล่าวนั้นจะไม่ได้มีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยอีกต่อไป ในกรณีข้างต้น หากต้นทุนการด าเนินนโยบายแบบเจาะจงนั้นสูง

               ถึง 40 ล้านบาท ก็หมายถึงว่าจะมีเงินเหลือในการช่วยเหลือแบบเจาะจงเพียง 60 ล้านบาทเท่านั้น  ทั้งนี้ หากต้นทุนใน

               การด าเนินนโยบายสูงมากจนเกินไปเมื่อเทียบกับทรัพยากรและประโยชน์ ก็อาจหมายถึงว่าการเจาะจงนั้นไม่คุ้มค่าที่จะ
               ท า ส าหรับการกล่าวถึงต้นทุนของสวัสดิการแบบเจาะจงในรายละเอียดจะอยู่ในส่วนถัดไปของบทนี้

                       นอกจากนี้ อีกสาเหตุหนึ่งที่สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนได้รับความสนใจจากผู้ด าเนินนโยบายทั่วโลก ก็คือ

               ความเชื่อที่ว่าการจะให้คนจนได้มีส่วนร่วมในผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจได้นั้นจ าเป็นจะต้องให้พวกเขา
               ยกระดับฐานะตัวเองให้ได้ก่อนในระดับหนึ่ง และการจะสร้างสภาพดังกล่าวให้เกิดขึ้นได้โดยไม่ต้องให้รัฐใช้ทรัพยากร

               มากเกินไปก็สามารถเกิดขึ้นได้จากการช่วยเหลือแบบเจาะจงไปที่คนจนเพื่อให้พวกเขายกระดับฐานะทางเศรษฐกิจของ

               ตนมาสู่ระดับที่จะก้าวเดินต่อไปได้ด้วยตนเองได้ ในมุมมองเช่นนี้การช่วยเหลือแบบเจาะจงจึงเป็นเหมือนการสร้างฐานที่
               ยืนที่สูงขึ้นให้ชั่วคราวเพื่อให้คนจนก้าวพ้นกับดักความยากจน



                   2.2.2 รูปแบบการเจาะจงแบบต่าง ๆ
                       กระบวนการเจาะจง (targeting) มีเป้าหมายหลักคือการพยายามหาว่าครัวเรือนหรือบุคคลไหนมีฐานะยากจน

               เพื่อน าข้อมูลดังกล่าวมาใช้ประกอบการจัดสวัสดิการต่อไป กระบวนการเจาะจงสามารถท าได้หลายรูปแบบ โดยรูปแบบ

               หลักๆจะมีสามรูปแบบคือ การเจาะจงด้วยการวัดฐานะทางเศรษฐกิจ การเจาะจงผ่านกลุ่มคนหรือพื้นที่ และสุดท้ายคือ
               การเจาะจงผ่านการให้ประชาชนเลือกเข้ารับบริการเอง

                                                               25
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39