Page 31 - kpiebook62001
P. 31
สวัสดิการมักจะเกิดขึ้นก่อนกับกลุ่มประชาชนที่รัฐมองว่ามีบทบาทหลักในการหนุนน ากระบวนการพัฒนาประเทศที่
ต้องการให้เกิดขึ้น และไม่สามารถครอบคลุมประชาชนทั้งหมดได้ ทิศทางการพัฒนาของระบบสวัสดิการทั่วโลกเข้าสู่
การเปลี่ยนแปลงในช่วงคริสตทศวรรษที่ 1970s-80s ด้วยบริบทเศรษฐกิจการเมืองโลกเปลี่ยนแปลงไป ประเทศต่าง ๆ
ทั่วโลกต่างมองถึงปัญหาของสวัสดิการแบบถ้วนหน้าและหันมาเน้นสวัสดิการแบบอื่น ๆ โดยเฉพาะสวัสดิการแบบ
เจาะจงที่คนจน Mkadawire (2005) อธิบายถึงปัจจัยที่น ามาซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวว่าถูกขับเคลื่อนด้วยสภาพ
อย่างน้อย 4 ประการ คือ บทบาทของแนวทางเสรีนิยมใหม่ แนวคิดเรื่องประสิทธิภาพและต้นทุนของนโยบายสวัสดิการ
ปัญหาของระบบสวัสดิการแบบถ้วนหน้า และการเปลี่ยนแปลงในแนวคิดเรื่องการพัฒนา
(1) บทบาทของแนวทางเสรีนิยมใหม่
การแพร่หลายของแนวทางเสรีนิยมใหม่ตั้งแต่คริสตทศวรรษที่ 1980s เป็นต้นมาส่งผลโดยตรงต่อแนวคิดเรื่อง
ระบบสวัสดิการที่เหมาะสม (Dutrey, 2007) แนวทางเสรีนิยมใหม่เน้นการจ ากัดบทบาทภาครัฐ ด้วยแนวคิดแบบเสรี
นิยมใหม่มองว่าภาครัฐนั้นไร้ประสิทธิภาพในการด าเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ และเน้นให้รัฐถอยตัวออกจากบทบาทที่
จะเข้าไปบิดเบือนการท างานอย่างมีประสิทธิภาพของกลไกตลาด ภายใต้บริบทแนวคิดเช่นนี้ ระบบสวัสดิการก็ถูกผลัก
ด้นให้เปลี่ยนแปลงไปเช่นกัน การเน้นจ ากัดบทบาทของรัฐน ามาซึ่งการมองไปถึงความรับผิดชอบส่วนตัวของพลเมืองเข้า
มาแทนที่ และที่ส าคัญ แนวคิดเรื่องบทบาทในการสนับสนุนความเท่าเทียมในหมู่พลเมืองก็ถูกแทนที่ด้วยการจ ากัด
หน้าที่ของรัฐให้เหลือเพียงการแก้ปัญหาความยากจน การเปลี่ยนแปลงนี้เกิดขึ้นทั้งกับประเทศพัฒนาแล้วและประเทศ
ก าลังพัฒนา
กล่าวได้ว่าความเป็นไปของระบบสวัสดิการนั้นยึดโยงอยู่กับอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจการเมือง อิทธิพลของ
แนวคิดเสรีนิยมใหม่ท าให้ชุดความคิดส าคัญที่โยงกับสวัสดิการเปลี่ยนไป จากความคิดเช่นสิทธิพลเมือง ภราดรภาพใน
สังคม ก็เปลี่ยนแปลงไปสู่การกล่าวถึงประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากร ข้อจ ากัดทางการคลัง และการอยู่ร่วมกับกระแส
โลกาภิวัตน์ ความสนใจหลักของระบบสวัสดิการแปรไปสู่กระบวนการเช่นการเพิ่มต้นทุนกับผู้ใช้สวัสดิการ (user fees)
การตรวจสอบฐานะทางเศรษฐกิจ (means-testing) และการให้ระบบตลาดหรือบทบาทของเอกชนเข้ามามีส่วนกับ
บริการภาครัฐมากขึ้น
Mkadawire (2005) ให้ข้อสังเกตที่น่าสนใจว่าอิทธิพลจากแนวทางเสรีนิยมใหม่ยังส่งผลให้มุมมองต่อระบบ
สวัสดิการแปรเปลี่ยนไปเน้นค ากล่าวอ้างเชิงเทคนิค เช่น การเปรียบเทียบประโยชน์และต้นทุนของสวัสดิการให้ออกมา
เป็นตัวเลข ทั้ง ๆ ที่แท้จริงแล้วการวิเคราะห์เชิงเทคนิคนั้นก็ซ่อนไว้ซึ่งอุดมการณ์ทางเศรษฐกิจการเมืองอีกทีหนึ่ง
"ค าอ้างถึงลักษณะเชิงเทคนิคนั้นซ่อนความจริงที่ว่าการตัดสินใจโดยอิงคุณค่าบางอย่างนั้นเป็น
สิ่งส าคัญทั้งกับการตัดสินใจว่าใครคือคนที่ควรจะได้รับสวัสดิการและการมองว่าพวกเขานั้นมี
คุณลักษณะอย่างไร นอกจากนี้การให้น้ าหนักกับประโยชน์และต้นทุนของแนวทางในการให้สวัสดิการยัง
มักจะโยงอยู่กับอุดมการณ์ที่คนๆหนึ่งยึดถือ"
ที่มา: Mkadawire (2005:1)
22