Page 30 - kpiebook62001
P. 30
ลักษณะนี้เน้นความเท่าเทียมกันระหว่างพลเมือง กลุ่มประเทศที่มีระบบสวัสดิการที่ให้น้ าหนักกับสวัสดิการแบบถ้วน
หน้ามากก็คือกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย (Epsing-Anderson, 1990)
สวัสดิการในรูปแบบที่แตกต่างจากสวัสดิการแบบถ้วนหน้าอย่างชัดเจนก็คือสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน
(poverty targeting) โดยสวัสดิการแบบหลังนี้ผู้ที่ได้รับจะต้องผ่านเกณฑ์ที่ถูกก าหนดไว้จากผู้ด าเนินนโยบายว่ามี
ฐานะทางเศรษฐกิจต่ ากว่าเกณฑ์บางประการที่ก าหนดได้โดยอัตวิสัย เกณฑ์ดังกล่าวอาจเป็นการอยู่อาศัยในบางพื้นที่ที่
คนส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดี การมีรายได้น้อย หรือการอยู่ในฐานะว่างงาน แนวคิดที่อยู่เบื้องหลังสวัสดิการ
แบบเจาะจงที่คนจนนี้ก็คือแนวคิดที่มองว่าสวัสดิการคือการช่วยเหลือคนที่มีฐานะยากจน เพื่อให้คุณภาพชีวิตหรือโอกาส
กับพวกเขาได้ก้าวผ่านปัญหาที่ประสบอยู่ได้ ประเทศที่มักจะเน้นสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนมักจะมีระบบเศรษฐกิจ
แบบเสรีนิยมที่ไม่ต้องการให้รัฐเข้ามามีบทบาทในทางเศรษฐกิจมากเกินไป ตัวอย่างประเทศที่เดินตามแนวทางนี้ก็เช่น
สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และประเทศก าลังพัฒนาส่วนใหญ่ (Epsing-Anderson, 1990)
ส าหรับสวัสดิการที่ให้จากการร่วมจ่าย (contribution-based welfare) อาจกล่าวได้ว่ามีส่วนผสมจาก
สวัสดิการสองรูปแบบข้างต้น เกณฑ์หลักของผู้ที่จะเป็นส่วนหนึ่งของสวัสดิการในรูปแบบนี้ได้ก็คือการมีส่วนร่วมจ่ายเงิน
ให้กับกองทุนในการด าเนินสวัสดิการ เช่น กองทุนประกันสังคม ในขณะที่ผู้ได้รับสวัสดิการรูปแบบนี้ไม่จ าเป็นต้อง
ยากจนแต่การมีโอกาสร่วมจ่ายเพื่อได้รับสวัสดิการแบบนี้ได้ก็อาจจะต้องพึ่งพิงฐานะทางเศรษฐกิจบางประการ เช่น การ
อยู่ในสถานภาพการจ้างงานของภาคเศรษฐกิจที่เป็นทางการ การให้สวัสดิการเฉพาะกลุ่มที่มีศักยภาพในการเป็นส่วน
หนึ่งของกระบวนการผลิตท าให้สวัสดิการรูปแบบนี้มักจะถูกโยงไปกับแนวคิดที่ต้องการให้สวัสดิการเป็นกลไกสนับสนุน
การจ้างงานหรือสนับสนุนการผลิตให้มีเสถียรภาพ ประเทศที่ให้น้ าหนักกับสวัสดิการในรูปแบบนี้ก็เช่น เยอรมนี และ
ประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออก เช่น ญี่ปุ่น
2.1.2 แนวโน้มการหันเหมาสู่นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจน (Poverty-targeting)
ด้วยเพราะมีแนวคิดสนับสนุนที่แตกต่างกัน ระบบสวัสดิการในแต่ละรูปแบบนั้นจึงมักจะถูกผลักดันมาในบริบท
ที่แตกต่าง สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนอาจถือว่ามีรากฐานที่ย้อนไปไกลกว่าสวัสดิการแบบอื่น ๆ กล่าวคือโยงย้อนไป
ได้ถึงแนวคิดในการช่วยเหลือคนจนจากสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในสหราชอาณาจักร การช่วยเหลือคนจนในบริบท
แรกเริ่มโยงกับแนวคิดทางศาสนาและการป้องกันความวุ่นวายในสังคม อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20
แนวคิดสวัสดิการถ้วนหน้าก็เริ่มทรงอิทธิพลมากขึ้นและก้าวขึ้นแทนที่แนวคิดสวัสดิการแบบช่วยเหลือเฉพาะคนจน การ
แพร่หลายของแนวคิดสวัสดิการแบบถ้วนหน้าเกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการรวมชาติและการสร้างชาติของประเทศในยุโรป
ประเทศเช่นเยอรมนีอาจถือเป็นต้นก าเนิดของการน าสวัสดิการแบบถ้วนหน้ามาใช้เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับการรวม
ชาติ ในขณะที่ประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวียก็เริ่มพัฒนาสวัสดิการแบบถ้วนหน้าจากแนวคิดเรื่องสิทธิพื้นฐานของ
พลเมือง
สวัสดิการแบบถ้วนหน้าแพร่หลายอยู่หลายทศวรรษทั้งในประเทศตะวันตก ทั้งยังแผ่อิทธิพลไปสู่ประเทศก าลัง
พัฒนาให้มองถึงสวัสดิการที่จะมาช่วยสนับสนุนการพัฒนาประเทศ อย่างไรก็ตาม ส าหรับประเทศก าลังพัฒนาการให้
21