Page 51 - kpiebook62001
P. 51
บทที่ 3
ที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ในบทที่สามจะเป็นการศึกษาสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ าในประเทศไทย พร้อมทั้งส ารวจ
พัฒนาการรูปแบบของสวัสดิการไทยตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง ปี พ.ศ. 2475 และเน้นไปที่พัฒนาการของ
สวัสดิการรูปแบบที่เจาะจงไปที่คนจน เพื่อศึกษาพัฒนาการของวิธีคิดในการจัดสวัสดิการในประเทศไทย ที่น ามาสู่
โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในปัจจุบัน รวมถึงปัจจัยแวดล้อมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันที่เสริมให้โครงการบัตรสวัสดิการแห่ง
รัฐเกิดขึ้นได้
3.1 สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล ้าในประเทศไทย
ตั้งแต่ประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1 ในปี พ.ศ. 2504 เศรษฐกิจ
ภายในประเทศเดินหน้าไปด้วยยุทธศาสตร์การผลิตเพื่อทดแทนการน าเข้า และต่อมาเพื่อการส่งออก ความส าเร็จในการ
ขยายก าลังการผลิตอาจสะท้อนผ่านมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) หากเทียบกับเมื่อ 30 ปีที่ผ่านมาหรือ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 ดังภาพที่ 3.1 จีดีพีของประเทศไทยขยายตัวเกือบ 7 เท่า ในขณะเดียวกันก็ยกระดับรายได้ต่อหัว
ประชากรให้สูงขึ้นได้กว่า 5 เท่าตัว แม้ว่าอัตราการเติบโตของจีดีพีในปัจจุบันไม่ได้สูงเทียบเท่ากับก่อนเกิดวิกฤติการเงิน
ครั้งใหญ่ในช่วงปี พ.ศ. 2540 ก็ตาม ประเทศได้ก้าวผ่านการเป็นประเทศรายได้ต่ า (Low-income country) มาสู่การ
เป็นประเทศรายได้ปานกลางขั้นสูง (Upper-middle-income country) ในปี พ.ศ. 2554 ตามเกณฑ์ของธนาคารโลก
ภาพที่ 3.1 มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศและรายได้ต่อหัวประชากร
16,000 15,452 500,000
400,000
12,000
300,000
8,000
200,000
218,200
4,000 2,264
100,000
0 39,965 0
2533 2535 2537 2539 2541 2543 2545 2547 2549 2551 2553 2555 2557 2559
GDP ณ ราคาปัจจุบัน (พันล้านบาท) GDP ต่อหัวประชากร (บาท)
ที่มา: ธนาคารแห่งประเทศไทย
42