Page 53 - kpiebook62001
P. 53

ส าหรับมิติด้านความเหลื่อมล้ าด้านรายได้ในประเทศไทย ภาพที่ 3.3 แสดงให้เห็นว่ากลับไม่มีความเปลี่ยนแปลง

                                            2
               ไปจากเดิมมากนัก สัมประสิทธิ์จินี  ด้านรายได้ลดต่ าลงเพียง 0.034 ในขณะเดียวกัน กลุ่มคนที่มีรายได้มากที่สุดของ
               ประเทศร้อยละ 20 (ควินไทล์ที่ 5 หรือ Q5) มีรายได้ประมาณร้อยละ 50 ของรายได้ทั้งหมด ซึ่งมากกว่ากลุ่มคนที่มี

               รายได้น้อยที่สุดของประเทศร้อยละ 20 (ควินไทล์ที่ 1 หรือ Q1) ราว 10 เท่า ช่องว่างทางรายได้ของคนทั้งสองกลุ่มนี้

               แทบไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาดังกล่าว

                       นอกจากนั้น ภาพที่ 3.4 แสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างค่าจ้างรายเดือนของแต่ละภาคส่วนอย่างเด่นชัด โดย

               กลุ่มคนที่ท างานอยู่ในภาคเกษตรกรรม การป่าไม้ และการประมงมีค่าจ้างเฉลี่ยต่ าที่สุด ในขณะที่กลุ่มคนที่ท างาน
               กิจกรรมขององค์การระหว่างประเทศมีค่าจ้างเฉลี่ยสูงที่สุด ซึ่งสองกลุ่มนี้มีความแตกต่างกันถึง 10 เท่า กลุ่มคนในที่มี

               ค่าจ้างสูงที่สุดยังมีค่าจ้างเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มอันดับที่สอง คือกลุ่มคนที่ท างานในอุตสาหกรรมไฟฟ้า ก๊าซ ไอน้ า และระบบ

               ปรับอากาศถึงราว 2 เท่า ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจอีกหลายประการที่ข้อมูลดังกล่าวไม่สามารถแจกแจงได้ เช่น ความเหลื่อม
               ล้ าในแนวนอน หรือภายในกลุ่มอาชีพเดียวกันนั้นมีค่าจ้างสูงสุดต่ าสุดห่างกันเท่าใด จ านวนแรงงานที่อยู่ในอุตสาหกรรม

               แต่ละประเภท หรือการกระจุกตัวของงานที่มีค่าจ้างสูงในเขตเมืองเปรียบเทียบกับชนบท เป็นต้น

                        ภาพที่ 3.3 สัมประสิทธิ์จินีด้านรายได้ และสัดส่วนรายได้ของกลุ่มที่จนที่สุดกับรวยที่สุดร้อยละ 20


                         70.0                                                                      1.000
                         60.0  54.4                                                          51.1  0.800


                         50.0
                         40.0  0.487                                                        0.453  0.600

                         30.0                                                                      0.400

                         20.0
                                                                                                   0.200
                         10.0   4.6                                                          5.0

                          0.0                                                                      0.000

                                  2531  2533  2535  2537  2539  2541  2543  2545  2547  2549  2550  2552  2554  2556  2558  2560

                                    สัดส่วนรายได้ (Q1)    สัดส่วนรายได้ (Q5)     สัมประสิทธิจินีด้านรายได้

               ที่มา: ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ






                       2  สัมประสิทธิ์จินี (Gini coefficient) ใช้ส าหรับวัดความเหลื่อมล้ าของค่าใดค่าหนึ่งในสังคมหนึ่ง ๆ โดยมากใช้วัดความเหลื่อม

               ล้ าของรายได้และรายจ่ายของประเทศ มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 1 โดย 0 หมายถึงสังคมไม่มีความเหลื่อมล้ า และ 1 หมายถึงมีความเหลื่อม
               ล้ ามากที่สุด
                                                               44
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58