Page 47 - kpiebook62001
P. 47
ถึงฐานะทางเศรษฐกิจอีกทีหนึ่ง นอกเหนือไปจากการตรวจสอบฐานะแล้ว ผู้ด าเนินนโยบายอาจเลือกวิธีอื่นในการ
เจาะจง เช่น อาจเลือกเจาะจงสวัสดิการไปเฉพาะกลุ่มอายุหรืออาชีพที่มักจะมีฐานะยากจน หรือให้ไปในพื้นที่ที่
ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้น้อย หรืออาจเลือกให้สวัสดิการในลักษณะที่คนยากจนจะเลือกเข้ามาเป็นผู้ใช้เอง ในการ
ออกแบบสวัสดิการแบบเจาะจงนั้น ผู้ด าเนินนโยบายสามารถผสมผสานวิธีการหลากหลายรูปแบบเพื่อให้การเจาะจง
ประสบผลส าเร็จได้มากขึ้น
แม้นโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงมักจะถูกน ามาใช้ภายใต้ข้อกล่าวอ้างว่าจะช่วยลดต้นทุนของสวัสดิการใน
ภาพรวมลงได้ แต่การด าเนินนสวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนเองก็มักจะต้องประสบปัญหาส าคัญก็คือต้นทุนที่สูง การจะ
ท าการเจาะจงให้ได้ส าเร็จนั้นก็จะยิ่งสร้างต้นทุนในการออกแบบและด าเนินกระบวนการในการคัดกรองคนที่ยากจนมา
เป็นผู้รับสวัสดิการ ในบริบทของประเทศก าลังพัฒนาที่ข้อมูลของภาครัฐยังขาดความสมบูรณ์และรัฐยังขาด
ความสามารถต้นทุนการบริหารของสวัสดิการแบบเจาะจงก็ยิ่งสูงขึ้น และแม้จะมีต้นทุนที่สูงแต่สวัสดิการแบบเจาะจงก็
อาจจะไม่ได้สามารถเข้าถึงคนยากจนได้อย่างแท้จริง แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่กระบวนการเจาะจงจะหลีกเลี่ยงปัญหา
เช่นการรั่วไหลและความผิดพลาดในการกีดกันคนยากจนจริงไม่ให้เข้าถึงสวัสดิการได้อย่างสมบูรณ์ และหากต้นทุนของ
สวัสดิการแบบเจาะจงนั้นสูงมาก ก็อาจเป็นไปได้ที่การหันมาใช้สวัสดิการแบบดังกล่าวจะไม่คุ้มค่า การส ารวจปัญหา
ต่าง ๆ ดังเช่นที่กล่าวมาไว้นี้ในกรณีของบัตรสวัสดิการแห่งรัฐในประเทศไทย จะเป็นโจทย์ส าคัญของบทที่ 4 ของรายงาน
วิจัยฉบับนี้
นอกเหนือจากนี้ การเลือกเน้นใช้สวัสดิการแบบเจาะจงยังอาจส่งผลต่อพัฒนาการของระบบสวัสดิการ โดยการ
เจาะจงสวัสดิการแบบเจาะจงไปเฉพาะที่คนจนอาจก่อให้เกิดผลเสียกับแรงสนับสนุนสวัสดิการจากชนชั้นอื่น ๆ จนส่งผล
ต่อเนื่องให้งบประมาณของระบบสวัสดิการโดยรวมหดตัวลง ผลระยะยาวที่อาจจะเกิดขึ้นนี้เป็นกระบวนการส าคัญที่
จ ากัดศักยภาพของระบบสวัสดิการในการช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ า
เพราะฉะนั้นแล้ว การจะท าให้สวัสดิการแบบเจาะจงที่คนจนยังคงประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาความยากจน
และความเหลื่อมล้ าได้ จึงจะต้องค านึงหาหนทางในการออกแบบสวัสดิการแบบเจาะจงในการตอบปัญหาต่าง ๆ ข้างต้น
ได้ดีขึ้น คือจะต้องหาแนวทางออกแบบสวัสดิการแบบเจาะจงให้สามารถลดต้นทุนในการบริหารจัดการ เกิดความ
ผิดพลาดในการเจาะจงน้อย และรั่วไหลน้อย การบริหารเช่นจัดการข้อมูล การสร้างกลไกมีส่วนร่วม จะเป็นปัจจัยส าคัญ
ที่จะตอบปัญหาเหล่านี้ได้ นอกเหนือจากนี้ การออกแบบสภาพที่แวดล้อมเช่นนโยบายสวัสดิการอื่น ๆ ให้เกื้อหนุนกับ
สวัสดิการแบบเจาะจง และการหาหนทางให้สวัสดิการแบบเจาะจงถูกยอมรับได้มากขึ้นโดยชนชั้นอื่น ๆ ก็ยังมี
ความส าคัญไม่แพ้กัน การส ารวจถึงวิธีการออกแบบสวัสดิการแบบเจาะจงให้ท างานได้ดีขึ้นในหลากหลายหนทางที่กล่าว
มานี้ จะเป็นโจทย์ส าคัญในส่วนบทที่ 5 ของรายงานวิจัยซึ่งจะส ารวจกรณีศึกษาของนโยบายสวัสดิการแบบเจาะจงและ
ระบบสวัสดิการในประเทศอื่น ๆ
38