Page 52 - kpiebook62001
P. 52
1
พัฒนาการทางเศรษฐกิจส่งผลให้รายได้ต่อหัวประชากรสูงขึ้น และส่งผลให้จ านวนคนจน ลดลงเป็นเงาตามตัว
ซึ่งเห็นได้ชัดจากภาพที่ 3.2 ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ จ านวนคนจนลดลงจาก 34.1 ล้านคนเหลือเพียง 5.3 ล้านคนในปี
พ.ศ. 2560 สัดส่วนของคนจนต่อประชากรทั้งประเทศลดลงจากร้อยละ 65.2 เหลือเพียงร้อยละ 7.9
ภาพที่ 3.2 เส้นความยากจน สัดส่วนคนจน และจ านวนคนจนในประเทศไทย
70.0 65.2 2,686 3,000
60.0 2,500
50.0
2,000
40.0 34.1
1,500
30.0
879 1,000
20.0
10.0 7.9 5.3 500
0.0 0
2531 2533 2535 2537 2539 2541 2543 2545 2547 2549 2550 2551 2552 2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559 2560
จ านวนคนจน (ล้านคน) สัดส่วนคนจน (ร้อยละ) เส้นความยากจน (บาท)
ที่มา: ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ความเหลื่อมล้ านั้นเป็นการศึกษาความยากจนอีกรูปแบบหนึ่ง กล่าวคือ การนิยามความยากจนและวัดจ านวน
คนจนแบบรายหัว (headcount) ดังสถิติข้างต้น เป็นการศึกษาความยากจนแบบสัมบูรณ์ (absolute poverty) ในขณะ
ที่ความเหลื่อมล้ าเป็นการศึกษาความยากจนแบบเปรียบเทียบ (relative poverty) ซึ่งเป็นการศึกษาโดยเปรียบเทียบมิติ
ต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มคนภายในสังคม (โดยมากเป็นการเปรียบเทียบภายในประเทศ) เป็นต้นว่าหากต้องการวัดความ
เหลื่อมล้ าด้านรายได้จากฐานข้อมูล ก็จะน าข้อมูลของแต่ละบุคคลหรือครัวเรือนมาเรียงจากรายได้น้อยไปมาก ตัดแบ่ง
ตามจ านวนกลุ่มที่ต้องการศึกษา เช่น ควินไทล์ (quintile) แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม เดไซล์ (decile) แบ่งออกเป็น 10 กลุ่ม
จากนั้นจึงท าการเปรียบเทียบคนหรือครัวเรือนแต่ละกลุ่มตามสัดส่วนที่เห็นว่าเหมาะสม เช่น 20:20 ratio คือการเทียบ
กลุ่มที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ 20 กับกลุ่มที่มีรายได้ต่ าสุดร้อยละ 20 ว่ามีค่าเฉลี่ยของรายได้ต่างกันกี่เท่า Palma ratio ใช้
เดไซล์ที่มีรายได้สูงสุดร้อยละ 10 เทียบกับควินไทล์ต่ าสุด 2 ควินไทล์ รวมร้อยละ 40
1 ‘คนจน’ หมายถึงคนที่มีรายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคต่อเดือนไม่เกินระดับเส้นความยากจนของปีนั้น ๆ
43