Page 56 - kpiebook62001
P. 56
เหลื่อมล้ าในมิติต่าง ๆ ได้มากขึ้น แต่สถิติเหล่านี้มิได้จัดท าขึ้นอย่างสม่ าเสมอและเก็บรวมรวมไว้อย่างเป็นระบบ
3
เหมือนกับมิติด้านรายได้และรายจ่าย และบางครั้งอาจท าการชี้วัดเป็นรูปธรรมได้ค่อนข้างยาก กระนั้น ตัวชี้วัดด้าน
ความยากจน และสถานการณ์ความเหลื่อมล้ าด้านรายรับและรายจ่ายที่ไม่พัฒนาขึ้น ก็มักน ามาใช้ค้ ายันจุดยืนส าหรับ
การจัดท านโยบายสวัสดิการในประเทศไทย
ประเด็นเรื่องความเหลื่อมล้ าถูกยกเป็นปัญหาส าคัญหนึ่งในการริเริ่มโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ แม้ว่า
รายงานสัมมนาประจ าปีของส านักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) พ.ศ. 2559 และ 2560 ซึ่งถือว่าเป็นเอกสารหลักการ
และเหตุผลของโครงการ จะกล่าวถึงประเด็นความเหลื่อมล้ าเหล่านี้อย่างครบถ้วน กระนั้นเอง ไม่มีงานศึกษาชิ้นใดที่
พยายามตอบค าถามว่า โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะช่วยลดความเหลื่อมล ้าผ่านช่องทางใด และไม่มีการระบุ
เป้าหมายว่าผู้จัดท านโยบายต้องการเห็นผลการลดความเหลื่อมล้ าจากนโยบายนี้ผ่านตัวชี้วัดใดบ้างทั้งในระยะสั้นและ
ระยะยาว
3.2 ภาพรวมพัฒนาการของสวัสดิการในประเทศไทย
ในส่วนนี้เป็นการรวบรวมหมุดหมายที่ส าคัญของนโยบายสวัสดิการในแต่ละช่วงเวลา เพื่อสะท้อนภาพพื้นฐาน
วิธีคิดในการจัดสวัสดิการส าหรับประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ข้อจ ากัดหนึ่งคือพัฒนาการของนโยบายสวัสดิการเหล่านี้ไม่
สามารถน าไปอ้างอิงเหตุผลส าหรับการจัดท าโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐได้โดยตรง ไม่สามารถสรุปได้ว่าเหตุเพราะ
นโยบายสวัสดิการที่จัดท าผ่านมาทั้งหมดไม่สามารถลดความเหลื่อมล้ าได้จึงริเริ่มโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
เนื่องจากการวัดผลจ าเป็นต้องมีการควบคุมตัวแปรอื่นอีกจ านวนมากในช่วงเวลาที่นโยบายสวัสดิการต่าง ๆ เริ่มมีขึ้น
ดังนั้น จุดประสงค์ของการรวบรวมข้อมูลสวัสดิการในส่วนนี้คือการศึกษาเส้นทางวิธีคิดของการจัดท านโยบายสวัสดิการ
ในประเทศไทยเพื่อให้เห็นภาพกว้าง มิใช่เพื่อเป็นข้อยืนยันในเชิงเทคนิคเพื่อเปรียบเทียบกับโครงการบัตรสวัสดิการแห่ง
รัฐ ส่วนนี้จึงไม่ได้กล่าวถึงรายละเอียดเงื่อนไขและผลประโยชน์ของสวัสดิการแต่ละโครงการ
งานศึกษาพัฒนาการนโยบายสวัสดิการหลาย ๆ ชิ้นมีความเห็นตรงกันว่าหมุดหมายส าคัญของจุดเริ่มต้นของ
นโยบายสวัสดิการอยู่ที่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยในปี
พ.ศ. 2475 อย่างไรก็ตาม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ได้มีปรากฏการณ์ส าคัญ
เกิดขึ้นในหลาย ๆ ด้าน อาทิ การเลิกทาส ทรงประกาศ “พระราชบัญญัติพิกัดเกษียณลูกทาสลูกไทย” ในปี พ.ศ. 2417
เป็นพระราชบัญญัติเพื่อลดค่าตัวทาสและเมื่อทาสมีอายุ 21 ปีก็จะเป็นอิสระ และ “พระราชบัญญัติเลิกทาส ร.ศ. 124”
ใน พ.ศ. 2448 ให้ลูกทาสทุกคนเป็นไทเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2448 เป็นต้นมา ด้านการศึกษา โรงเรียนส าหรับ
สามัญชนก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2427 โรงเรียนวิชาชีพขั้นสูงก็ได้รับการจัดตั้งขึ้นในล าดับถัดมา และพัฒนาเป็น
3 ข้อมูลรายรับรายจ่ายมาจากส ารวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือน จัดเก็บโดยส านักงานสถิติแห่งชาติ โดยในปี พ.ศ. เลขคู่
เก็บข้อมูลทั้งด้านรายรับและจ่าย และในปี พ.ศ. เลขคี่เก็บข้อมูลด้านรายจ่ายเท่านั้น ค่าสถิติประมวลผลโดยส านักงานคณะกรรมการ
พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
47