Page 57 - kpiebook62001
P. 57

สถาบันอุดมศึกษาในภายหลังการก่อตั้งกรมศึกษาธิการในปี พ.ศ. 2430 และเปลี่ยนเป็นกระทรวงศึกษาธิการในปี พ.ศ.

               2432 ด้านการสาธารณสุข มีการจัดตั้งกรมพยาบาล กรมสุขาภิบาล และที่ส าคัญคือโรงพยาบาลศิริราชในปี พ.ศ. 2431
               ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ กระนั้นเอง นโยบายสวัสดิการสังคมยังไม่ก่อตัวเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน สังคมไทยยังคง

               เป็นสังคมเกษตรที่มีวิถีการผลิต และความสัมพันธ์ทางการผลิตไม่แตกต่างจากระบอบศักดินาในยุโรปมากนัก ระบบ

               อุปถัมถ์ยังเป็นช่องทางในการส่งผ่านทรัพยากรจากคนรวยมาสู่คนจน (สุรพล ปธานวณิช, 2547) ทว่านักประวัติศาสตร์
               หลายท่านลงความเห็นตรงกันว่าภาพการผลิตแบบทุนนิยมเด่นชัดยิ่งขึ้นตั้งแต่เริ่มมีการลงนามในสนธิสัญญาเบาว์ริงปี

               พ.ศ. 2398

                       ในส่วนภาพรวมพัฒนาการนี้ให้ความส าคัญกับช่วงเวลาที่ตามมา 3 ช่วงเวลา ได้แก่ (1) ช่วงหลังการ
               เปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตย พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2515 (2) ช่วงเริ่มต้นของงานประกันสังคมปี

               พ.ศ. 2515 ถึง พ.ศ. 2540 และ (3) ช่วงวิกฤตเศรษฐกิจครั้งส าคัญในทวีปเอเชียและประเทศไทย พ.ศ. 2540 จนถึง

               ปัจจุบัน ช่วงเวลาต่าง ๆ ถูกตัดแบ่งออกหยาบ ๆ ตามทัศนะของคณะวิจัยในแง่โครงสร้างเศรษฐกิจและลักษณะของ
               นโยบายสวัสดิการ การทบทวนวรรณกรรมในส่วนนี้เป็นเพียงการรวบรวมข้อมูลขั้นต้น เพื่อให้เห็นภาพกว้างและจุดเด่น

               ของนโยบายสวัสดิการแต่ละช่วงเวลา รวมถึงการก่อตั้งหน่วยงานมีความเกี่ยวข้องกับนโยบายสวัสดิการเท่านั้น

                   3.2.1 ช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ถึง พ.ศ. 2515


                       หลักฐานชิ้นส าคัญทางด้านสวัสดิการที่สามารถแยกพัฒนาการออกเป็นอีกยุคหนึ่งได้คือ “เค้าโครงการ
               เศรษฐกิจ” หรือ “สมุดปกเหลือง” ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม (ปรีดี พนมยงค์) ซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกของคณะราษฎร

               เค้าโครงการเศรษฐกิจมีเนื้อหาสวัสดิการว่า “ราษฎรที่เกิดมาย่อมจะได้รับหลักประกันจากรัฐบาล ... ตั้งแต่เกิดมาจน

               ประทั่งสิ้นชีพ” (ปรีดี พนมยงค์, 2542) ซึ่งสะท้อนแนวคิดของปรีดีว่าการคุ้มครองสวัสดิการของประชาชนเป็นหน้าที่
               ของรัฐบาล อย่างไรก็ตาม เค้าโครงการเศรษฐกิจถูกมองว่ายังไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในยุคนั้นด้วยสาเหตุ

               หลายประการ เช่น ความไม่เข้าใจในหลักการของเค้าโครงการเศรษฐกิจ ขาดฐานอ านาจในการสนับสนุนแนวคิด (ระพี

               พรรณ ค าหอม, 2554) ประกอบกับความวุ่นวายทางการเมืองในช่วงแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เค้าโครงการ
               เศรษฐกิจจึงไม่ได้ถูกแปลงเป็นนโยบายสวัสดิการที่เป็นรูปร่างนัก

                       อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม หนึ่งในสมาชิกของคณะราษฎรเช่นนายปรีดี ด ารงต าแหน่ง

               นายกรัฐมนตรีทั้ง 2 สมัย คือสมัยแรกในช่วง พ.ศ. 2481 ถึง พ.ศ. 2487 และสมัยที่สองคือ พ.ศ. 2491 จนถึง พ.ศ.
               2500 นั้น ได้มีการจัดตั้งหน่วยงานและออกพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการ อาทิ

                       (1) การจัดตั้งกรมประชาสงเคราะห์ขึ้นในปี พ.ศ. 2483 เป็นหน่วยงานหลักในการจัดสวัสดิการสังคมทั้งส าหรับ

               เด็ก คนไร้ที่พึ่ง คนพิการ ผู้สูงอายุ รวมถึงการป้องกันปราบปรามการค้าประเวณีและการพัฒนาชาวเขา (ระพีพรรณ ค า
               หอม, 2554)

                       (2) ภายในกรมประชาสงเคราะห์ มีหน่วยงานย่อยชื่อว่ากองเคหสถาน ได้รับการจัดตั้งขึ้นพร้อมกันกับกรม

               ประชาสงเคราะห์ในปี พ.ศ. 2483 เพื่อจัดหาที่พักอาศัยให้กับประชาชน สร้างอาคารให้ประชาชนเช่าซื้อ นอกจากนั้น ยัง


                                                               48
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62