Page 58 - kpiebook62001
P. 58
ได้มีการจัดตั้งส านักงานอาคารสงเคราะห์ และธนาคารอาคารสงเคราะห์ ในปี พ.ศ. 2494 และ พ.ศ. 2496 ตามล าดับ
เพื่อร่วมกันพัฒนางานด้านการเคหะ ก่อนที่หน่วยงานดังกล่าว (ยกเว้นธนาคารอาคารสงเคราะห์) จะเปลี่ยนเป็นการ
เคหะแห่งชาติในปัจจุบัน
(3) ในปี พ.ศ. 2479 รัฐบาลสามารถจัดตั้งโรงเรียนประชาบาลได้ครบทุกต าบล ท าให้ประชาชนเข้ารับการศึกษา
ขั้นพื้นฐานได้ในวงกว้างมากขึ้น นอกจากนั้น จอมพล ป. ได้เพิ่มงบประมาณด้านการศึกษาเป็นร้อยละ 19.8 ของ
งบประมาณประเทศในปี พ.ศ. 2498 เทียบกับเพียงร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2476 (สุรพล ปธานวณิช, 2547)
(4) การก่อตั้งกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2485 เพื่อรวบรวมหน่วยงานด้านการสาธารณะสุขและการแพทย์
ไว้ด้วยกัน ทั้งนี้ จอมพล ป. ยังมีแผนที่จะสร้างโรงพยาบาลในทุกจังหวัด เพิ่มจ านวนสถานีอนามัย และขยายงานอนามัย
ไปสู่โรงเรียนมากยิ่งขึ้น (สุรพล ปธานวณิช, 2547)
(5) การตราพระราชบัญญัติอย่างน้อย 3 ฉบับที่เกี่ยวข้องกับการท างานในปี พ.ศ. 2484 ได้แก่ พระราชบัญญัติ
จัดหางานให้ผู้ไร้อาชีพ ก าหนดให้ผู้ว่างงาน หรือผู้ที่ไม่ได้ก าลังศึกษา เป็นภิกษุสามเณร ทุพพลภาพหรือสติฟั่นเฟือน
จะต้องไปรายงานตัวที่ส านักงานท้องถิ่น โดยข้าหลวงในจังหวัดมีอ านาจในการจัดหางานให้ประกอบอาชีพตามความ
เหมาะสมและความสามารถ พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน หากผู้ท าการขอทานมีลักษณะที่ต้องได้รับความ
ช่วยเหลือ เช่น วิกลจริต พิการ มีโรค หรือไม่สามารถประกอบอาชีพ ไม่มีญาติมิตรอุปการะเลี้ยงดู ให้ส่งผู้ขอทานไปยัง
สถานสงเคราะห์ หากมิได้มีลักษณะดังกล่าวให้ส่งไปยังส านักงานท้องถิ่นเพื่อจัดหางานให้ท า และพระราชบัญญัติช่วย
อาชีพและวิชาชีพ ที่ก าหนดให้ผู้ประกอบอาชีพส าหรับบางอาชีพจะต้องเป็นคนไทยเท่านั้น เพื่อป้องกันการแย่งงานจาก
ชาวต่างชาติที่อพยพเข้ามาในประเทศไทย
(6) ในปี พ.ศ. 2499 รัฐบาลเริ่มมีการสงเคราะห์ครอบครัว โดยใช้รายได้เป็นเกณฑ์คัดกรองเป็นครั้งแรก เช่น
หากมีบุตรจ านวน 5 คนและมีรายได้ของครอบครัวไม่เกินกว่าเดือนละ 800 บาท จะได้รับเงินสงเคราะห์ไม่เกิน 120
บาทต่อปี หากมีบุตรจ านวน 6 คนและมีรายได้ของครอบครัวรวมกันไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท จะได้รับเงินสงเคราะห์
ไม่เกิน 200 บาท โดยเงินสงเคราะห์จะเพิ่มขึ้น 80 บาทต่อบุตร 1 คนที่เพิ่มขึ้น (และมีเพดานรายได้รวมของครอบครัวที่
เพิ่มขึ้นตามล าดับ) ไปจนถึงบุตรคนที่ 12 แต่ในที่สุด พระราชบัญญัติฉบับนี้ก็ถูกยกเลิกไปในปี พ.ศ. 2501
(พระราชบัญญัติสงเคราะห์ผู้มีบุตรมาก, 2499)
นโยบายสวัสดิการในยุคเริ่มต้นนี้อาจกล่าวได้ว่ามีลักษณะของการ “สงเคราะห์” อย่างเด่นชัด นโยบายส่วนหนึ่ง
เป็นการต่อยอดหรือการขยายผลจากสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นในด้านการศึกษาและสาธารณสุข กระนั้นเอง หน่วยงานที่
ก่อตั้งขึ้นในช่วงนี้คงอยู่มาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าวนี้จะกินเวลาไปจนถึงช่วงที่ประเทศไทยมีแผนพัฒนา
เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปแล้วถึง 3 ฉบับ แต่การปรับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเข้าสู่ฐานการผลิต
แบบอุตสาหกรรมยังไม่ได้ก่อก าเนิดนโยบายในเชิงประกันสังคมแต่อย่างใด ธร ปีติดล (2560) ตั้งข้อสังเกตว่า ในช่วง
พัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศไทยตั้งแต่ยุคของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี บทบาทของพรรคการเมือง
ฝ่ายซ้ายและสหภาพแรงงานถูกจ ากัด ท าให้นโยบายสวัสดิการที่เกี่ยวข้องกับการท างานเกิดขึ้นได้ยาก ประกอบกับ
49