Page 96 - kpiebook62001
P. 96
- มาตรการพยุงการบริโภคผู้มีรายได้น้อย ให้เติมวงเงินเพิ่มเป็น 500 บาทเท่ากันทุกคน ในช่องส าหรับการซื้อ
ของในร้านธงฟ้าประชารัฐเท่านั้น ไม่สามารถกดออกมาเป็นเงินสดได้ เป็นเวลา 2 เดือนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึง
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2562 คาดว่าจะใช้งบประมาณ 6,600 ล้านบาท
มาตรการพยุงเศรษฐกิจในช่วงกลางปี พ.ศ. 2562 นี้จะใช้เงินจากกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐาน
รากและสังคมจากที่ได้เสนอขออนุมัติจากงบกลางไปแล้วเมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2562
4.2 ปัญหาของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ในส่วนนี้จะเป็นการวิเคราะห์ปัญหาของโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐโดยใช้กรอบการวิเคราะห์ของ Morestin
(2012) โดยคณะวิจัยจะเรียงล าดับเพื่อคลี่ปัญหาต่าง ๆ และรวบบางมิติที่มีความใกล้เคียงโดยวิเคราะห์จากกระบวนการ
เงื่อนไข สวัสดิการที่จัดสรรให้ของโครงการ ประกอบกับผลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ รวมถึงการ
รวบรวมข่าว โดยแบ่งการอภิปรายตามมิติต่าง ๆ ดังนี้ 1. การกระจายประโยชน์ (equity) 2. ผลข้างเคียง (unintended
effects) 3. ต้นทุน (cost) 4. ประสิทธิผล (effectiveness) และ 5. การตอบรับและความเป็นไปได้ (acceptance and
feasibility)
4.2.1 การกระจายประโยชน์
ในแง่การกระจายประโยชน์นั้น บัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นโครงการที่ท าจากระดับบนลงล่าง (Top-down)
กระบวนการคัดกรองด าเนินการโดยส่วนกลางและขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานของรัฐให้รับหน้าที่เป็นหน่วย
ลงทะเบียน ส่งประวัติของผู้ขอรับบัตรไปประมวลผลที่ส่วนกลาง จึงน่าจะช่วยลดปัญหาเรื่องการเอื้อประโยชน์ให้แก่
บุคคลใกล้ชิดหรือกีดกันบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ จากการสัมภาษณ์ทั้งหมดไม่พบว่าเกิดปัญหาการเอื้อประโยชน์หรือกีดกัน
ส าหรับเรื่องสวัสดิการที่ได้รับ แม้ว่าผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะได้รับสวัสดิการเหมือนกันทุกคน (ยกเว้นเกณฑ์
รายได้ที่ก าหนดให้ใช้ซื้อสินค้าในร้านธงฟ้าประชารัฐได้ 200 บาทและ 300 บาท) แต่การได้ประโยชน์จากสวัสดิการของ
แต่ละคนอาจไม่เท่ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่อาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดนั้นมีความ
แตกต่างกันชัดเจน
(พวกค่าแก๊ส ค่าเดินทาง ค่าน้ าไฟ) “ไม่ได้ใช้เลย ก็ใช้แต่ไอ้ 300 บาทตรงนี้แหละ”
ที่มา: จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีบัตรในต่างจังหวัด
ส าหรับวงเงินในการซื้อสินค้าในร้านธงฟ้าประชารัฐ ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐมีต้นทุนที่แตกต่างกันในการ
เดินทางไปยังร้านธงฟ้าประชารัฐ เพราะบางคนอยู่ในพื้นที่ห่างไกล การเดินทางนั้นไม่สะดวกและมีค่าใช้จ่ายมาก
แตกต่างจากคนที่อยู่ในเขตเมืองซึ่งอาจอยู่ห่างจากร้านไปไม่ไกลนัก แม้ว่าจะมีแอพพลิเคชันถุงเงินประชารัฐมาแก้ปัญหา
ดังกล่าว แต่ก็ยังไม่มีการประเมินผลและรายงานออกมาว่าร้านที่รับจ่ายด้วยแอพพลิเคชันนี้กระจายตัวออกไปอย่างไร
สืบเนื่องจากการซื้อของในร้านธงฟ้าประชารัฐ เริ่มมีการตั้งข้อสังเกตว่าการจ ากัดทางเลือกของประชาชนโดยให้
ไปซื้อของที่ร้านธงฟ้าประชารัฐเท่านั้น ‘ส่อไปในทางเอื้อประโยชน์ให้บางกลุ่ม’ (iLaw, 2560; โพสต์ทูเดย์, 2561;
87