Page 97 - kpiebook62001
P. 97

Workpoint News, 2561) ในขณะที่ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยได้แถลงการประเมินผลจากการกระตุ้น

               เศรษฐกิจฐานรากผ่านโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐอย่างไม่ตรงไปตรงมาว่าเป็นนโยบายที่ใช้เงินจ านวนมาก แต่ส่งผล
               ต่อการเติบโตของเศรษฐกิจค่อนข้างน้อยหรือประมาณร้อยละ 0.1 (ไทยรัฐ, 2560) แต่ไม่ได้กล่าวถึงเหตุผล ซึ่งก็ไม่อาจ

               ตีความได้ชัดเจนนักว่าสื่อความหมายถึงผลประโยชน์จากบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ตกไปอยู่กับกลุ่มนายทุนเหมือนที่ผู้อื่นตั้ง

               ข้อสังเกตหรือไม่ เนื่องจากในทางทฤษฎี เงินโอนของภาครัฐจะช่วยกระตุ้นให้เศรษฐกิจหมุนเวียนได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
               หากเป็นเงินโอนที่ลงไปสู่กลุ่มคนผู้มีรายได้น้อย เพราะคนกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะใช้จ่ายออกไปในอัตราส่วนที่สูง อย่างไรก็

               ตาม การใช้แอพพลิเคชันถุงเงินประชารัฐ และการทดลองให้กดเงินสดได้ส่วนหนึ่งในเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน พ.ศ.

               2562 ถือว่าเป็นแนวโน้มที่ดีขึ้นส าหรับประเด็นนี้ เพราะหากการซื้อขายเกิดขึ้นในระดับเศรษฐกิจฐานรากก็จะกระตุ้นให้
               เกิดการใช้จ่ายออกไปเป็นทอด ๆ

                       นอกเหนือจากสวัสดิการส าหรับการซื้อสินค้า ผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดไม่ได้ใช้ประโยชน์จากสวัสดิการในช่องอื่น ๆ

               เลย กล่าวคือ ค่าไฟฟ้าน้ าประปา ค่าก๊าซหุงต้ม ค่าโดยสารรถ ขสมก. บขส. รถไฟฟ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มที่อยู่ใน
               ต่างจังหวัด เพราะส่วนหนึ่งคือไม่รับทราบเงื่อนไขว่าต้องใช้อย่างไร และส่วนหนึ่งคือไม่ได้อาศัยหรือท างานในย่านที่มีรถ

               โดยสารดังกล่าว ผู้ให้สัมภาษณ์ที่อยู่ในกรุงเทพฯ ก็ไม่ได้ใช้ค่าโดยสารรถไฟฟ้าหรือรถ บขส. เพราะไม่ได้มีโอกาสหรือ

               ความจ าเป็นที่จะได้ใช้บริการ แม้ว่าเงินส่วนที่ไม่ได้ใช้นั้นจะไม่รั่วไหลเพราะกระทรวงการคลังเบิกจ่ายให้หน่วยงาน
               ออกไปตามที่ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาใช้สิทธิ แต่การกระจายประโยชน์ของสวัสดิการแตกต่างกันไปตามเขตพื้นที่และ

               กิจกรรมของประชาชนที่ต้องข้องแวะกับตัวสวัสดิการนั้น ๆ ว่าแต่ละคนจะได้มีโอกาสใช้ประโยชน์มากน้อยเพียงใด

                   4.2.2 ผลข้างเคียง


                       ในแง่ของผลข้างเคียงที่อาจบิดเบือนแรงจูงใจในการท างานหรือการปรับตัวในอื่น ๆ เพื่อรักษาสวัสดิการไว้ จาก
               ข้อสังเกตและการสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ไม่พบว่าผู้มีบัตรขาดแรงจูงใจในการท างานเพื่อรักษาสวัสดิการ

               ไว้เนื่องด้วยสาเหตุเหล่านี้ ประการแรก จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีข้อมูลใดหรือนโยบายใดจากทางภาครัฐที่จะตัดสิทธิในการ

               ได้รับบัตรหากมีรายได้เกินกว่าเกณฑ์ที่ก าหนด ดังนั้น ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่ท าการสัมภาษณ์ทั้งหมดนั้นจึงไม่มีการ
               เปลี่ยนพฤติกรรมแต่อย่างใด

                       ประการที่สอง กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐส่วนหนึ่งเป็นผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยติดเตียง หรือมีข้อจ ากัดในการ

               ท างานอยู่แล้ว คนกลุ่มนี้ไม่ได้ท างานและไม่มีรายได้ตั้งแต่ก่อนได้รับบัตร แต่การได้รับบัตรส่งผลให้แรงจูงใจในการหา
               งานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่พอจะท าได้ลดลงหรือไม่นั้นไม่สามารถตอบได้ชัดเจน

                       ประการที่สาม กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐส่วนใหญ่จากการสัมภาษณ์และเข้าใจว่าคนกลุ่มหนึ่งของผู้มีบัตร

               สวัสดิการแห่งรัฐนั้นมีงานท าอยู่แล้ว และยังคงยึดอาชีพเดิมในการประกอบอาชีพ และอาชีพที่ท าอยู่เป็นอาชีพที่สร้าง
               รายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย เช่น การทอผ้า เก็บของเก่าขาย หรือมีรายได้ไม่แน่นอน เช่น เกษตรกร ท าให้เข้าเกณฑ์

               เป็นผู้มีรายได้น้อย และยังต้องท างานที่ท าอยู่ประจ าควบคู่กันไป เพราะวงเงินที่ได้รับจากบัตรนั้นก็ไม่เพียงพอที่จะยังชีพ

               ได้ตลอดทั้งเดือน


                                                               88
   92   93   94   95   96   97   98   99   100   101   102