Page 99 - kpiebook62001
P. 99
บ้านโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โครงการแฟรนไชส์สร้างอาชีพเพื่อผู้มีรายได้น้อยโดยกรมพัฒนาธุรกิจ
การค้า และโครงการที่จัดท าขึ้นมาใหม่ เช่น โครงการเพิ่มศักยภาพผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐฯ
โครงการฝึกอาชีพเร่งด่วนช่างอเนกประสงค์ การจัดหลักสูตรอาชีพเสริม การค้นหาต าแหน่งงานว่างผู้ตู้งาน (Job Box)
ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม เนื้อหาของมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตฯ นั้นไม่ได้ระบุว่ามีอาชีพในลักษณะในบ้างที่เปิดรับการ
ฝึกอบรม อาจมีการซักถามกันส่วนตัวผ่านการสัมภาษณ์เมื่อผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่สมัครใจเข้าร่วมการฝึกอาชีพ แต่ที่
ส าคัญไปกว่านั้นก็คือแผนการรองรับในระยะยาว ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่า การฝึกอาชีพต่าง ๆ เปิดกว้างพอให้เลือกตาม
ความถนัดของผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือไม่ การฝึกอาชีพหรือพัฒนาทักษะเป็นหลักสูตรที่น าไปใช้จริงได้มากน้อย
เพียงใด การผลิตสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ตามการฝึกอาชีพมีตลาดรองรับหรือไม่ และที่ส าคัญที่สุดอาชีพหรือทักษะที่ฝึก
ให้กับผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถสร้างรายได้ที่เติบโตอย่างต่อเนื่องจนหลุดพ้นความยากจนอย่างยั่งยืนได้หรือไม่
4.2.3 ต้นทุน
ต้นทุนส าหรับโครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐจะแบ่งเป็นต้นทุนของผู้รับสวัสดิการในการสมัครรับสิทธิ ต้นทุน
ของการบริหารจัดการ และต้นทุนของโครงการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะน าไปสู่การตั้งข้อสังเกตเรื่องการตอบรับและความเป็นไป
ได้ในส่วนถัดไป
ประเด็นแรกคือ ต้นทุนของผู้รับสวัสดิการในการสมัครรับสิทธิ จากการสัมภาษณ์ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ส่วนใหญ่ไม่ค่อยพบปัญหาในเรื่องการเดินทาง เนื่องจากหน่วยรับลงทะเบียน (ธนาคารทั้ง 3 แห่ง คลังจังหวัด และ
ส านักงานเขตในกรุงเทพมหานคร) อยู่ไม่ห่างไกลจากที่พักอาศัยมากนัก ทั้งหมดให้ความเห็นว่ากระบวนการลงทะเบียน
ไม่มีความยุ่งยากและใช้เวลาไม่นาน แต่จะมีปัญหาที่เกิดขึ้นในด้านอื่น ๆ เช่น ผู้สูงอายุบางคนไม่มีบัตรประจ าตัว
ประชาชนท าให้บางคนไม่สามารถลงทะเบียนได้ หรือปัญหาการท าความเข้าใจการลงทะเบียน การเขียนหนังสือ ซึ่ง
ปัญหาเหล่านี้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้ข้อมูลว่า เจ้าหน้าที่รับลงทะเบียนให้ความช่วยเหลือเป็นอย่างดี ส าหรับปัญหา
บุคคลที่ไม่สามารถเดินทางไปลงทะเบียนที่หน่วยรับลงทะเบียน ก็ได้รับการแก้ไขจากมาตรการลงทะเบียนเพิ่มเติม
ภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน แล้ว
ส าหรับต้นทุนในการใช้บัตรนั้นเป็นปัญหาส าคัญประการหนึ่ง เนื่องจากในระยะแรกจะต้องน าบัตรไปซื้อสินค้าที่
ร้านธงฟ้าประชารัฐเท่านั้น ซึ่งกลุ่มผู้สัมภาษณ์บางคนบอกว่าอยู่ไกล และต้องเสียค่ารถเป็นจ านวนมาก การเดินทางอาจ
ไม่สะดวกและไม่คุ้มที่จะเดินทางไป จึงมีการแก้ปัญหาโดยการฝากให้คนในชุมชนรวบรวมบัตรไปให้ตัวแทนหนึ่งคนซื้อ
ของ และหักค่าอ านวยความสะดวกให้เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ปัญหานี้รัฐบาลได้พยายามแก้ไขจากการสร้างแอพพลิเค
ชันถุงเงินประชารัฐในการเพิ่มร้านค้าที่รับบัตรแล้ว แต่กลุ่มผู้มีบัตรที่คณะวิจัยสัมภาษณ์ยังไม่ได้ลองใช้จ่ายผ่านแอพพลิเค
ชันดังกล่าว
การใช้บัตรในการซื้อของจากร้านธงฟ้าประชารัฐ ผู้ให้สัมภาษณ์ทั้งหมดกล่าวว่าใช้งานง่าย ไม่มีปัญหาในการท า
ความเข้าใจแต่อย่างใด แต่อาจมีบางส่วนที่มีปัญหากับการกดเงินสด เนื่องจากต้องใช้รหัสที่ก าหนดเอง 6 หลัก ท าให้เกิด
90