Page 16 - kpiebook62010
P. 16

9






                     กล่าวโดยสรุป มุมมองที่มีต่อสถานะของสัตว์ตามแนวคิดแรกนี้เห็นว่า สัตว์เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นมาเพื่อ

               เป็นข้ารับใช้มนุษย์ตามห่วงโซ่ของธรรมชาติ จึงไม่มีสถานะใดๆ ที่จะได้รับความคุ้มครองอย่างที่พึงมีในมนุษย์
               เนื่องจากสัตว์ไม่มีเหตุผล ไม่มีสติ ไม่มีภาษา ไม่สามารถมีความพึงพอใจ ความปรารถนา และไม่มีจิตวิญญาณ
               สัตว์จึงมีคุณค่าไม่แตกต่างจากเครื่องจักรเครื่องยนต์หรือทรัพย์สิน เป็นเพียงสิ่งมีชีวิตที่เป็นผลประโยชน์ให้แก่มนุษย์

               เช่นนี้มนุษย์จึงปฏิบัติต่อสัตว์อย่างไรก็ได้ แต่การทารุณกรรมสัตว์นั้นถ้าจะห้ามก็เพราะว่าจะเป็นการสร้างนิสัย
               ที่โหดร้ายให้แก่มนุษย์ซึ่งจะเป็นภัยต่อมนุษย์ด้วยกันเท่านั้น ไม่ได้เป็นไปเพราะว่าสัตว์นั้นมีสถานะที่ไม่ควรถูก
               กระทำทารุณหรือทรมาน


                (2) แนวคิดว่าผลประโยชน์ของสัตว์มีความเกี่ยวกันพันกับผลประโยชน์ของมนุษย์

                     เป็นแนวคิดที่คัดค้านแนวคิดแรก โดยเห็นว่ามนุษย์ไม่ควรมองสัตว์เป็นเพียงทรัพย์สิน แม้สัตว์จะไม่มี

               สิทธิและสถานะอย่างเต็มที่ในทางศีลธรรมและในทางกฎหมาย แต่สัตว์ก็ไม่สมควรที่จะถูกทารุณโดยไม่จำเป็น
               นักปรัชญาหลายคนเริ่มมีความเห็นว่า การทารุณสัตว์อย่างขาดสติเป็นการลดระดับความเป็นมนุษย์ และเป็น
               การกระทำที่ผิดหรือเป็นความชั่ว อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ยังคงยอมรับว่าสัตว์เป็นทรัพย์สินของมนุษย์ที่มนุษย์

               มีอำนาจเหนือสัตว์ แต่มนุษย์ก็ต้องใช้ประโยชน์จากสัตว์เท่าที่จำเป็นจริงๆ เท่านั้น

                     นักปรัชญาที่สนับสนุนแนวความคิดนี้ได้แก่ จอห์น ล็อก (John lock) ที่เห็นว่า ไม่ว่าใครก็จะทำลายตัวเอง

               หรือสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในความครอบครองหรือเป็นทรัพย์สินของตนไม่ได้ เว้นแต่เมื่อใช้อย่างมีคุณธรรม อเล็กซานเดอร์
               โปป (Alexander Pope) กล่าวว่า มนุษย์ไม่ควรตัดสิทธิของสัตว์ในการที่จะมีชีวิตและดำเนินชีวิตตามธรรมชาติ
               แต่มนุษย์ก็อาจมีสิทธิที่จะทำลายสัตว์ได้หากสัตว์นั้นเป็นภัยร้ายแรงต่อมนุษย์หรือในกรณีอื่นๆส่วนอิมมานูเอล

               ค้านต์ (Immanuel Kant) เห็นว่าความต้องการเป็นคุณค่าอย่างเดียวของสัตว์ที่มีไวดำรงชีวิต เขาเชื่อว่ามนุษย์ไม่มี
               ภาระหน้าที่เป็นเจ้าของโดยตรงต่อสัตว์ แต่ภาระการเป็นเจ้าของต่อสัตว์นั้นเป็นเพียงภาระหน้าที่โดยอ้อมและภาระ
               การเป็นเจ้าของนี้เองที่มีไว้สำหรับมนุษย์ ในขณะเดียวกัน จอห์น รอลส์ (John Rawls) ก็ได้สนับสนุนงานของค้านต์

               และในมุมมองของรอลส์เองนั้น สัตว์ไม่ใช่ผู้มีศีลธรรมเพราะสัตว์ขาดลักษณะที่จำเป็นนั้นก็คือ มโนคติเกี่ยวกับความ
               ดีและการให้ความยุติธรรม มนุษย์เท่านั้นถูกให้มีสิทธิในความยุติธรรมและความเสมอภาค สัตว์ไม่สามารถมีส่วน
               ในสัญญาประชาคมของมนุษย์ได้และไม่มีการให้สิทธิขั้นพื้นฐานแก่สัตว์เช่นที่ให้แก่มนุษย์ได้ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม

               เขากลับไม่เห็นด้วยกับความคิดที่ว่า มนุษย์ไม่มีหนี้บุญคุณและหน้าที่ใดๆ ต่อสัตว์ แม้สัตว์ในความเห็นของเขานั้น
               จะไม่สามารถเข้าร่วมสัญญาประชาคมได้ก็ตาม นอกจากนี้ เขาเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่งหากมีการทารุณ
               กรรมต่อสัตว์ เนื่องจากสัตว์มีความสามารถในการรับรู้ ความรู้สึกกดดัน และความเจ็บปวด จากรูปแบบชีวิตของ

               สัตว์ สัตว์สามารถที่จะเรียกร้องความเห็นอกเห็นใจและมนุษย์ธรรมจากมนุษย์ในกรณีนี้ได้แต่เฉพาะกับผู้ที่มี
               ศีลธรรมเท่านั้น เขาจึงกล่าวสรุปว่าสัตว์สมควรได้รับความเห็นอกเห็นใจจากมนุษย์ เพราะมนุษย์สามารถทำให้สัตว์
               ได้รับความทุกข์ทรมานได้ และถึงแม้หน้าที่ไม่ทารุณสัตว์นั้นจะไม่ใช่หน้าที่โดยตรงของมนุษย์ แต่หน้าที่ดูแลสัตว์

               ให้เจริญเติบโตก็เป็นหน้าที่หลักที่มนุษย์พึงมีต่อสัตว์ซึ่งมีความเกี่ยวพันกัน 7





               
      7   ธันวรัตน์ โรจนโรวรรณ. อ้างแล้ว. หน้า 65 - 67









                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21