Page 33 - kpiebook62010
P. 33
26
3.1 การคุ้มครองสัตว์ตามข้อตกลงระหว่างประเทศ
จากการศึกษา ยังไม่พบว่า มีข้อตกลงระหว่างประเทศในระดับสากลที่เป็นทางการที่เกี่ยวข้องกับ
การคุ้มครองสัตว์ อย่างไรก็ตาม มีความพยายามในการเสนอคำประกาศหรือปฏิญญาว่าด้วยสิทธิหรือสวัสดิภาพ
สัตว์ในระดับสากลอยู่สองครั้ง แต่คำประกาศหรือปฏิญญาเหล่านั้นยังไม่ถือว่ามีผลใช้บังคับอย่างเป็นทางการ
3.1.1 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิของสัตว์ (Universal Declaration of Animal Rights)
เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม ค.ศ. 1987 ได้มีกลุ่มคณะบุคคลซึ่งประกอบด้วยนักการทูต นักวิทยาศาสตร์
นักสังคมศาสตร์ เป็นต้น ได้ร่วมกันประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสทธิของสัตว์ขึ้นที่สำนักงานองค์การศึกษา
วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประขาชาติ (UNESCO) ประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยประสงค์ที่จะให้
ปฏิญญาดังกล่าวใช้บังคับเป็นการทั่วไปในระดับสากลและนานาชาติในด้านจริยธรรมของมนุษย์ที่มีต่อสัตว์
ซึ่งปฏิญญาดังกล่าวไม่ได้มีสภาพบังคับทางกฎหมายแต่อย่างใด แต่ปฏิญญาดังกล่าวก็ได้มีอิทธิพลต่อการตรา
กฎหมายและออกกฎในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ทั้งในประเทศฝรั่งเศสและประเทศต่างๆ อยู่บ้าง 1
ต่อมาได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมปฏิญญานี้ โดยสมัชชาสิทธิสัตว์นานาชาติ (the international
League of Animal Rights) ในปี ค.ศ. 1989, ซึ่งได้เสนอต่อผู้อำนวยการทั่วไปของ UNESCO อีกครั้งในปี 1990
และเผยแพร่ต่อสาธารณชนในปีเดียวกัน สาระสำคัญของปฏิญญาฉบับนี้ และที่แก้ไขเพิ่มเติมสรุปได้ดังนี้
2
ปฏิญญานี้ให้การรับรองว่าสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เกิดมาโดยมีความเสมอภาค และมีสิทธิจะเป็นอยู่
(มาตรา 1) มนุษย์จะต้องเคารพในสิทธิของสัตว์ ในฐานะที่มนุษย์ก็เป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง จึงไม่มีสิทธิกำจัดหรือกระทำ
การทารุณกรรมต่อสัตว์ นอกจากนี้มนุษย์ยังมีหน้าที่จะต้องดูแลจัดสวัสดิภาพสัตว์ โดยถือว่าสัตว์มีสิทธิที่จะได้รับ
การคุ้มครองปกป้องจากมนุษย์ (มาตรา 2) โดยสัตว์จะต้องไม่ถูกกระทำให้เจ็บป่วยหรือกระทำการทารุณกรรม
หากจะมีการฆ่าสัตว์ ก็จะต้องใช้วิธีที่เกิดผลฉับพลันทันทีโดยไม่ทำให้สัตว์นั้นเครียด (มาตรา 3)
ปฏิญญานี้ยังรับรองถึงสิทธิของสัตว์ประเภทต่างๆ ได้แก่
- สัตว์ป่าย่อมมีสิทธิที่จะอยู่อาศัยได้ในธรรมชาติ ทั้งในผืนน้ำ บนดิน และในอากาศ
รวมถึงมีสิทธิในการสืบเผ่าพันธุ์ของตน ซึ่งการจำกัดสิทธินี้แม้เป็นไปเพื่อการศึกษา
ก็ไม่อาจกระทำได้ (มาตรา 4)
- สัตว์ที่อยู่ร่วมกับมนุษย์แล้วตามประเพณี ก็มีสิทธิที่จะอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม
ต่อวิถีการดำรงชีวิตชนิดของสัตว์นั้นๆ การแทรกแซงวิถีการดำรงชีวิตของสัตว์โดย
มนุษย์ถือเป็นการละเมิดต่อสิทธินี้ (มาตรา 5)
1 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. บันทึกสรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัด
สวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. .... (เรื่องเสร็จที่ 650/2553). (เอกสารไม่เผยแพร่)
2
Universal declaration of animal rights (15 October 1978). สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2560, สืบค้นจาก : https://
constitutii.files.wordpress.com/2016/06/file-id-607.pdf
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557