Page 29 - kpiebook62010
P. 29

22






                             อุดม รัฐอมฤต และคณะ มีความเห็นเรื่อง “เสรีภาพ” นี้ว่า หมายถึง “สภาวการณ์ของมนุษย์

               ที่ไม่อยู่ภายใต้การครอบงำของบุคคลอื่น หรือปราศจากการหน่วงเหนี่ยวขัดขวาง บุคคลใดบุคคลหนึ่งย่อมมี
               เสรีภาพอยู่เท่าที่บุคคลนั้นไม่ถูกบังคับให้ต้องกระทำในสิ่งที่ไม่ประสงค์จะกระทำ หรือไม่ถูกหน่วงเหนี่ยว
               ขัดขวางไม่ให้กระทำในสิ่งที่บุคคลนั้นประสงค์ที่จะกระทำ” 39


                             บรรเจิด สิงคะเนติ เห็นว่า “เสรีภาพ” หมายถึง “อำนาจในการกำหนดตนเองโดยอิสระของ

               บุคคล” 40

                             กล่าวโดยสรุปแล้ว เสรีภาพย่อมหมายถึง การที่บุคคลจะกระทำการใด หรือไม่กระทำการใด

               โดยใจสมัครอันปราศจากการบังคับหรืออยู่ภายใต้อาณัติของบุคคลอื่นหรือรัฐ

                             สิทธิเสรีภาพนั้นจึงมีความแตกต่างกันอยู่ที่ สิทธิเป็นประโยชน์ในเรื่องที่บุคคลชอบที่จะเรียกร้อง

               เอาจากบุคคลอื่น หากการเรียกร้องนั้นเป็นการเรียกร้องเอาแก่บุคคลทั่วไปหรือปัจเจกชน ก็เป็นสิทธิในทางเอกชน
               เช่นสิทธิทางแพ่ง ถ้าการเรียกร้องประโยชน์นั้นเป็นการเรียกร้องเอาจากรัฐ สิทธินั้นก็เป็นสิทธิตามกฎหมายมหาชน
               หรือสิทธิตามรัฐธรรมนูญ หรือหากพิจารณาถึงวิธีการ สิทธินั้นเป็นสิ่งที่ต้อง “ใช้” เช่นการใช้สิทธิเรียกร้องให้ผู้อื่น

               ชำระหนี้ทางแพ่ง หรือสิทธิในการเลือกตั้งแสดงเจตนารมณ์ทางการเมือง เป็นเรื่องที่จะเห็นว่าผู้ทรงสิทธินั้นจะต้อง
               ดำเนินการบางประการเพื่อใช้สิทธินั้น


                             ส่วนเสรีภาพนั้น คือประโยชน์ในลักษณะที่บุคคลจะกระทำการใดๆ โดยไม่ถูกบังคับหรืออยู่
               ภายใต้อาณัติ อันเป็นสิ่งที่ไม่ต้องเรียกร้อง หรือดำเนินการเพื่อใช้ แต่เสรีภาพนั้นจะส่งผลบุคคลผู้ทรงเสรีภาพนั้น
               ปลอดจากการถูกบังคับให้กระทำหรือไม่กระทำการอยู่แล้ว ตลอดเวลาที่ยังมีเสรีภาพนั้นคุ้มครองอยู่


                             อย่างไรก็ตาม เสรีภาพนั้นก็ก่อให้เกิดสิทธิเช่นกัน ซึ่งบางครั้งอาจจะเรียกว่า “สิทธิในเสรีภาพ”
               กล่าวคือ เสรีภาพนั้นก่อให้เกิดสิทธิในการที่จะ “เรียกร้อง” มิให้บุคคลอื่นหรือรัฐกระทำการอันเป็นการลิดรอน

               เสรีภาพนั้นได้ และหากมีการลิดรอนเสรีภาพ ผู้ทรงเสรีภาพก็ย่อมมีสิทธิในการร้องขอหรือเยียวยาเพื่อให้ยุติการ
               ลิดรอนเสรีภาพนั้น


                     2.3.2  ข้อวิพากษ์ว่าด้วยสิทธิหรือเสรีภาพของสัตว์เมื่อพิจารณาในแง่มุมของสิทธิและ
               เสรีภาพของมนุษย์


                             เมื่อพิจารณาจากความหมายของสิทธิและเสรีภาพของมนุษย์เมื่อเปรียบเทียบกับแนวคิดเรื่องสิทธิ
               ของสัตว์แล้ว จะมีปัญหาที่ทำให้ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้หลายประการ


                             เช่น เมื่อนำเอาหลักเรื่อง สิทธินั้นจะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของสิทธิที่จะเลือกใช้สิทธิ หรือสิทธินั้น
               เรียกร้องให้ผู้อื่นมีหน้าที่ต้องเคารพสิทธิของตนแล้ว ก็จะพิจารณาได้ทันทีว่าสัตว์นั้นไม่อาจที่จะมีสิทธิได้ เพราะสัตว์



               
     39   อุดม รัฐอมฤต และคณะ. อ้างแล้ว. หน้า  87

               
     40   บรรเจิด สิงคะเนติ. อ้างแล้ว. หน้า 47








                       ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34