Page 34 - kpiebook62010
P. 34
27
- สัตว์เลี้ยงมีสิทธิที่จะได้มีชีวิตของมันอย่างสมบูรณ์ตามแต่ธรรมชาติ การทอดทิ้ง
สัตว์เลี้ยงถือเป็นการกระทำอันทารุณโหดร้ายและไม่เคารพในศักดิ์ศรีของมัน (มาตรา 6)
- สัตว์ที่เลี้ยงไว้เพื่อใช้งานมีสิทธิที่จะทำงานในระยะเวลาและภาระงานเพียงเท่าที่เหมาะสม
โดยมีสิทธิจะได้รับอาหารและที่พักพิงตามสมควร (มาตรา 7)
- กรณีการทดลองในสัตว์นั้น ไม่ว่าจะต่อกายภาพหรือต่อสุขจิตของสัตว์นั้นเป็นการ
ละเมิดสิทธิของสัตว์ ไม่ว่าจะกระทำไปโดยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ การแพทย์
การพาณิชย์ หรือเหตุผลอื่นใด ทั้งนี้ การทดลองที่ทดแทนการใช้สัตว์จำเป็นจะต้อง
ได้รับการพัฒนา (มาตรา 8)
- สัตว์ที่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารจะต้องได้รับการเลี้ยงดู ขนส่ง รีดนม และฆ่า
โดยปราศจากความทรมาน (มาตรา 9)
ในส่วนท้ายของปฏิญญาได้กล่าวถึงรูปแบบของการละเมิดสิทธิของสัตว์ไว้ ได้แก่ การนำสัตว์มาใช้
เพื่อความบันเทิง การฆ่าสัตว์ รวมถึงสิทธิในร่างของสัตว์ที่ตายแล้ว โดยมีหลักการว่า สัตว์ไม่ควรนำมาใช้เพื่อความ
บันเทิงของมนุษย์ การจัดแสดงหรือให้สัตว์ทำการแสดงถือเป็นการละเมิดต่อศักดิ์ศรีของมัน (มาตรา 10)
การฆ่าสัตว์อย่างทารุณโหดร้ายถือเป็นอาชญากรรมต่อชีวิต (มาตรา 11) ส่วนการฆ่าสัตว์ป่า
จำนวนมากในลักษณะเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธ์ถือเป็นอาชญากรรมต่อเผ่าพันธุ์ ซึ่งการก่อให้เกิดมลภาวะใน
ธรรมชาติถือเป็นต้นเหตุแห่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (มาตรา 12)
นอกจากนี้ มาตรา 13 กำหนดว่าร่างกายของสัตว์ที่ตายแล้วจะต้องได้รับการเคารพ การทารุณ
กรรมสัตว์ในภาพยนตร์หรือโทรทัศน์นั้นจำเป็นจะต้องถูกจำกัดปิดกั้น เว้นแต่เป็นไปเพื่อการศึกษาของมนุษย์
ปฏิญญาฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายให้มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมายและได้รับการยอมรับโดยรัฐ โดยมาตรา 14
ซึ่งเป็นมาตราสุดท้ายได้เสนอหลักการว่า เสียงของผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองสัตว์จะต้องได้รับความสำคัญต่อ
การดำเนินการของรัฐ และให้ถือว่าสิทธิของสัตว์นั้นเป็นสิทธิตามกฎหมายในลักษณะเดียวกับสิทธิมนุษยชน
แต่อย่างไรก็ตาม ดังได้กล่าวไว้แล้วในข้างต้นว่า ปฏิญญาฉบับนี้มีสถานะเป็นข้อเสนอและคำประกาศ
ไม่มีผลใช้บังคับเป็นกฎหมาย
3.1.2 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสวัสดิภาพสัตว์ (Universal Declaration on Animal
Welfare หรือ UDAW)
มีความพยายามให้มีข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิของสัตว์ขึ้นอีกครั้งในศตวรรษที่ 21
โดยโครงการนี้เริ่มต้นขึ้นโดยสมาคมระดับโลกเพื่อการคุ้มครองสัตว์ (World Society for the Protection of
Animals หรือ WSPA) ได้นำเสนอร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสวัสดิภาพสัตว์ขึ้นเป็นครั้งแรกในการประชุมว่าด้วย
สัตว์โลกในปี ค.ศ. 2000 ที่ลอนดอน เมื่อวันที่ 16 – 17 มิถุนายน และมีการดำเนินการต่อมาในการประชุมที่
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้บังคับของพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรม และการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557